
เสริมความมั่นใจแต่ละก้าวของการวิ่ง
เสริมความมั่นใจแต่ละก้าวของ การวิ่ง ด้วยรองเท้าวิ่งคุณภาพเยี่ยม จาก Sportlifeonline ให้ทุกก้าวของการวิ่งนั้นมีประสิทธิภาพ
เนื่องจากเทรนด์สุขภาพ การวิ่ง ออกกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก ซึ่งจะสังเกตได้ว่าตามสวนสาธารณะและสถานที่ออกกำลังกายต่างๆก็มักจะเห็นผู้คนไปวิ่งเพื่อออกกำลังกายกันอย่างคึกคัก แต่การออกกำลังกายด้วยการวิ่งนั้นไม่ใช่แค่สวมรองเท้าวิ่งที่ดีแล้วออกไปวิ่งเท่านั้น เพราะการวิ่งที่ดีนั้นจะต้องมีการวอร์มอัพก่อนวิ่ง และการคูลดาวน์หลังการวิ่งอีกด้วย เพื่อป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการบาดเจ็บ เพราะถ้าสุขภาพเท้าของเราดีแล้วก็ยิ่งจะทำให้การวิ่งนั้นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการวิ่ง
1. เลือกรองเท้าให้ดี – รองเท้าที่ใช้สวมใส่เวลาวิ่งถือเป็นอุปกรณ์สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ ควรเลือกรองเท้าวิ่งโดยเฉพาะที่ซัพพอร์ตเท้า ขนาดพอดี สวมใส่สบาย ไม่คับหรือหลวมจนเกินไป และหมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นประจำ ซึ่งสามารถเลือกรองเท้าวิ่งคู่ใจของคุณได้ที่ www.sportlifeonline.com
2. ชุดใส่วิ่ง – นอกจากรองเท้าแล้ว เสื้อผ้าก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญ ควรเลือกเสื้อผ้าที่ไม่อุ้มเหงื่อ ระบายอากาศได้ดี สำหรับผู้หญิงควรสวมใส่สปอร์ตบราเพื่อความคล่องตัวขณะวิ่งด้วย
3. เลือกสถานที่วิ่ง – หลายคนมีไลฟ์สไตล์ไม่เหมือนกัน บางคนอาจจะว่างวิ่งช่วงเช้า หรือบางคนอาจจะมีเวลาว่างช่วงกลางคืน จึงควรเลือกสถานที่ให้เหมาะสม เพราะการวิ่งสามารถทำได้ทั้งในฟิตเนส และนอกสถานที่อย่างสวนสาธารณะด้วยเช่นกัน
4. อย่าแปลกใจหากน้ำหนักขึ้น – ในช่วงแรกที่เริ่มวิ่งบางคนอาจจะขาใหญ่และน้ำหนักขึ้นเล็กน้อย อย่าเพิ่งตกใจ เพราะน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมานั้นคือกล้ามเนื้อ ร่างกายสร้างกล้ามเนื้อที่หนาขึ้น อาจทำให้ดูขาใหญ่ขึ้นหากวิ่งต่อไปเพื่อสร้างกล้ามเนื้อให้เพิ่มขึ้น จะไปช่วยเรื่องการเผาผลาญและจะผอมลงเอง
ข้อแนะนำในการวิ่ง
1.เหงื่อกับการลดน้ำหนัก จริงๆแล้วการใส่ชุดออกกำลังกายแขนขายาวออกมาวิ่งในวันอากาศร้อนจัดอาจรู้สึกว่าถ้าเหงื่อออกมากๆอาจทำให้ผอมลงในความเป็นจริงแล้ว ปริมาณของเหงื่อไม่เกี่ยวกับอัตราการเผาผลาญไขมันเลยแม้แต่น้อยเหงื่อเกิดจากกระบวนการระบายความร้อนของร่างกายเพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมแต่ไม่ได้ช่วยเรื่องการเผาผลาญแต่อย่างใด แม้ว่าพอเหงื่อออกมามากจะทำให้น้ำหนักลดลง ซึ่งเกิดจากการสูญเสียน้ำเพียงช่วงหนึ่งเท่านั้นแต่ไม่ใช่การดึงเอาไขมันสะสมมาเปลี่ยนเป็นพลังงานจึงไม่ได้ทำให้ผอมลง
2. ถ้ารู้สึกเจ็บหรือขาล้าควรรีบประคบเย็นทันที ถ้านั่งพักเท่าไหร่อาการปวดขาเมื่อยล้าก็ไม่หาย ควรประคบเย็นจะทำให้เซลล์และหลอดเลือดหดตัวเซลล์ประสาทจะทำงานช้าลง จึงทำให้รู้สึกเจ็บน้อยลงและช่วยยับยั้งอาการบาดเจ็บไม่ให้ลุกลามได้ หลังจากวิ่งเสร็จให้อาบน้ำให้เรียบร้อย หลังจากนั้นใช้สารเก็บความเย็น เช่น แผ่นเจลเก็บความเย็น น้ำแข็ง หรือคูลครีม ประคบหรือทาบริเวณที่รู้สึกปวด เช่น หัวเข่า หลัง หน้าท้อง น่อง เป็นต้น แล้วใช้ผ้าพยุงกล้ามเนื้อหรือแผ่นพลาสติกใสสำหรับถนอมอาหารพันให้แน่น ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที อาการบาดเจ็บจะทุเลาลง
3. การวิ่งไม่ทำให้ขาใหญ่เป็นก้อนขึ้นมาแน่นอนแต่ถ้าวิ่งมาสักพักแล้วรู้สึกขาใหญ่ขึ้น อาจจะมาจาก 2 สาเหตุนี้
1.กล้ามเนื้อใหญ่ขึ้นขณะที่ไขมันใต้ผิวหนังไม่ลดลง มักเกิดกับคนที่แม้จะวิ่งให้ไกลขึ้นและบ่อยขึ้นแล้วแต่ยังกินอาหารมากเท่าเดิม การออกกำลังกายจึงไม่อาจเผาผลาญไขมันได้หมด
2.อาการบวมน้ำบริเวณขาหลังวิ่งเสร็จ หลังวิ่งเสร็จหากสังเกตบริเวณน่อง อาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าขาใหญ่ขึ้นเพราะเมื่อกล้ามเนื้อเคลื่อนไหว เลือดจะถูกส่งไปบริเวณนั้นมากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อบวมและมีลักษณะคล้ายอาการบวมน้ำ ซึ่งเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้หลังออกกำลังกายอย่างหนัก แต่อีกสักพักจะหายเป็นปกติ
4.เตรียมร่างกายไว้ป้องกันการบาดเจ็บ นักวิ่งมือใหม่หลายคนเริ่มวิ่งมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่พอเริ่มเพิ่มระยะกลับเกิดอาการปวดหัวข่าหรือข้อเท้าจนไม่กล้าจะวิ่งบนพื้นผิวแข็งๆ อีก วิธีป้องกันการบาดเจ็บจากการวิ่งได้ดีที่สุดคือการสร้างกล้ามเนื้อของร่างกายส่วนล่าง โดยการเริ่มจากการเดินเร็วและเดินขึ้น-ลงบันไดเป็นประจำก่อน แล้วค่อยๆ เริ่มวิ่งพร้อมเพิ่มระยะทางไปเรื่อยๆ หรือใส่รองเท้าวิ่งที่มีฟังก์ชันช่วยพยุงกล้ามเนื้อส่วนที่ยังไม่แข็งแรงเอาไว้
5. การกำหนดเส้นทางการวิ่ง
– เลือกเส้นทางที่เป็นผิวเรียบ ไม่ขรุขระ เพราะอาจทำให้สะดุดหรือข้อเท้าพลิกได้
– หากเส้นทางมีทิวทัศน์ หรือระยะทางให้เลือกหลายระดับ ให้เลือกสถานที่วิ่งที่เหมาะกับสภาพร่างกายหรืออารมณ์แต่ละช่วงหมุนเวียนกันไป จะได้ไม่รู้สึกจำเจ
ขั้นตอนการวอร์มก่อนวิ่ง
เริ่มเดินให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือเดินขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ เพื่อพัฒนาการทำงานของปอดและหัวใจ รวมถึงกล้ามเนื้อช่วงล่างและความทนทานของร่างกาย จากนั้นวันอาทิตย์ให้วิ่งด้วยความเร็วที่มากกว่าการเดินเร็วนานติดต่อกันประมาณ 5 นาที หากไม่สามารถวิ่งได้ติดต่อกัน 5 นาที ให้วิ่งสลับกับการเดินเร็วเป็นระยะๆ การฝึกออกกำลังกายเป็นประจำคือเป้าหมายสำคัญสำหรับการวิ่งในช่วงเดือนแรก หากทุกวันที่ออกกำลังกายแล้วรู้สึกสดชื่นนั่นคือสิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อเข้าสู่เดือนที่สองและสาม ให้เพิ่มระดับความเร็วจากวิ่งช้าๆ เป็นวิ่งจ๊อกกิ้ง สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที เทียบเท่ากับความเร็ว 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่หากรู้สึกว่าช้าไป ฉันวิ่งได้มากกว่านี้ ให้เพิ่มความเร็วขึ้นอีก หากวิ่งได้ขนาดนี้แล้วก็ข้ามขั้นจากคนที่ไม่เคยออกกำลังกายเป็นนักวิ่งได้อย่างเต็มตัว ขณะวิ่งจะรู้สึกปลอดโปร่ง สนุกกับการที่ร่างกายพุ่งไปข้างหน้า โดยอาจจะให้วันหยุดร่างกาย 1-2 วันต่อสัปดาห์เพื่อไม่ให้ใช้งานร่างกายและจิตใจอย่างหักโหมเกินไป