
รู้จักเอาตัวรอดคือ การเที่ยวป่า ที่ดีที่สุด
รู้จักเอาตัวรอดคือ การเที่ยวป่า ที่ดีที่สุด
ให้ sportlifeonline เป็นเพื่อนร่วมทางของคุณ
การเที่ยวป่า การท่องเที่ยวเดินป่า ใช้ชีวิตและเวลาส่วนใหญ่อยู่กับป่าแตกต่างกับใช้ชีวิตในเมืองเพราะในป่าไม่มีผู้คนและเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ แต่สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นแรกเลยก็คือ ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง วิธีไหนที่เห็นว่าสะดวกในการดำเนินชีวิตในป่าให้ใช้วิธีนั้น แล้วธรรมชาติจะสอนเราเรียนรู้ไปกับป่าเอง แล้วหากคุณยังกังวลเรื่องของการเตรียมตัวละก็ให้คลิก www.sportlifeonline.com เพราะอุปกรณ์สำคัญๆ เช่น รองเท้าและกางเกงต่างๆรวมอยู่ที่นี่หมดแล้ว โดยครั้งนี้เรามีสาระน่ารู้ต่างๆในการใช้ชีวิตในป่ามาฝากทุกท่านกัน
เดินป่าอย่างไรให้เซฟตัวที่สุด
การเดินป่าวันแรกควรจะเดินช้าๆตามกำลังของร่างกาย ออมแรงไว้เพื่อให้ร่างกายปรับตัว ถ้าฝืนรีบเดินตามคนหน้า อาจช็อกหรือหมดแรงเมื่อออมแรงดีแล้ว วันต่อมาร่างกายเริ่มปรับตัวแล้วจะเริ่มเดินเร็วขึ้นเรื่อยๆทำแบบนี้ ถึงแม้ว่าวันสุดท้ายหรือช่วงเย็นที่คนอื่นหมดแรง แต่เรายังมีแรงอยู่เหลือเฟือ
วิธีเดินป่าไม่ให้ลื่นล้ม คือ หาที่จับก่อนแล้วค่อยก้าว ถ้าเดินในป่า ให้จับต้นไม้ แล้วทดลองเหยียบให้แน่ใจว่า ดินข้างหน้าไม่เป็นหลุมควรจะเกาะต้นไม้ทั้ง 2 มือ เผื่อว่าไปจับโดนไม้ผุทำให้เสียหลัก ถ้าลงทางชันไม่มีต้นไม้ให้เกาะ ให้นั่งยองๆ แล้วใช้มือยันกับก้อนหินหรือดินที่พื้น แล้วค่อยยื่นขาออกไปทีละข้างถ้าเดินในลำห้วยอาจจะจับก้อนหินลองแหย่ขาออกไปเหยียบหินก้อนต่อไป แล้วขยับเท้าให้แน่ใจก่อนว่าจะไม่ลื่นหรือหินพลิกจึงค่อยก้าวออกไป ถ้าน้ำลึกมาก ก้มลงไปจับก้อนหินไม่ได้ให้ใช้ไม้เท้า 2 อันช่วยค้ำ ถ้าไม่มีไม้เท้าพยายามก้าวสั้นๆ จะทรงตัวขึ้น
วิธีเดินขึ้นเขาไม่ให้เหนื่อยคือ ดูลมหายใจดูว่ากำลังหายใจเข้า หรือ หายใจออก ลมหายใจยาวหรือสั้น ลมหายใจแรงหรือเบาดูอยู่อย่างนี้ก็จะลืมความเหนื่อย แต่ถ้าเผลอใจลอยไปคิดเรื่องอื่นอาจจะเหนื่อยอีก ถ้าเริ่มเหนื่อย พยายามเดินช้าลง ก้าวสั้นๆ ถ้าคนหน้าเดินเร็ว เราจะพยายามเร่งสปีดเพราะกลัวเดินตามคนหน้าไม่ทัน ช่วงเวลาที่พยายามเดินให้เร็วขึ้นนี้เองจะทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน เรียกว่า มัวแต่ดูคนอื่นจนลืมดูตัวเอง หรือถ้ามัวแต่คิดว่าเหนื่อยก็จะยิ่งเหนื่อย แต่ถ้าเปลี่ยนมาดูลมหายใจ เราจะพยายามควบคุมการเดินไม่ให้ลมหายใจเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป ถ้าไปกันหลายคนแล้วมีคนที่เหนื่อยจนเดินไม่ไหว เปลี่ยนให้คนนั้นมาเดินนำหน้า เขาจะหายเหนื่อยเพราะการเดินตามก้นคนอื่นจะมีแรงกดดันแต่การเดินนำหน้าจะเดินตามกำลังของตัวเอง
การเดินลงเขาที่ปลอดภัย
สาเหตุที่ทำให้การเดินลงเขาแล้วปวดกล้ามเนื้อขาทั้งสองข้างเกิดจากลงเขาผิดวิธี คือ ลงเขาเร็วเกินไปและใช้กล้ามเนื้อขาเบรคมากเกินไปวิธีป้องกันคือ เวลาลงเขาพยายามลงช้าๆ หาต้นไม้เกาะหาไม้เท้ายัน เพื่อใช้กล้ามเนื้อขาให้น้อยที่สุดบางคนเข้าใจผิดไปกินยาคลายเนื้อ แล้วไม่ดีขึ้น เพราะสาเหตุที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากกล้ามเนื้อหดตัว แต่เกิดจากกล้ามเนื้อบอบช้ำ ทางรักษาที่ดีที่สุดคือ หยุดพัก รอให้ผ่านไปสัก 2-3 วันจึงเริ่มดีขึ้น ถ้าสัก 1 สัปดาห์ก็จะหายสนิท
เดินป่าระวังพืชมีพิษ
พืชมีพิษในป่า คือพืชที่สัมผัสแล้วรู้สึกคัน จะมีขนหรือมีน้ำยาง ถ้าเผลอไปโดนเข้าให้ทายาแก้แพ้ พืชมีพิษที่พบในเมืองไทย มีดังนี้
• พวกใบมีขนเป็นพิษ คือ ตำแย หานไก่ กะลังตังช้าง สามแก้ว หานช้างร้อง หานกวาง
• พวกผลมีขนเป็นพิษ คือ หมามุ่ย ช้างแหก
• พวกที่มีน้ำยางเป็นพิษ คือ ตาตุ่มทะเล ตังตาบอด ตังกวม รักหลวง แกนมอ
พืชที่มีขน มองด้วยตาเปล่า จะไม่เห็นขนของมัน ดังนั้น วิธีป้องกันพืชมีพิษเวลาเดินป่าคือ สวมเสื้อผ้าปิดมิดชิดตั้งแต่หัวจรดเท้า รวมทั้งสวมถุงมือด้วย และ พยายามอย่าไปสัมผัสกับใบไม้ และ ยางไม้
ข้อแนะนำเรื่องการขับถ่าย
ก่อนออกเดินทางตอนเช้าเรามักจะไม่ปวดอุจจาระ ถ้าไปปวดท้องต้องถ่ายกลางทาง จะต้องทนนั่งให้แมลงกัดและใบไม้แยงก้น ยิ่งถ้าไม่ได้ถ่ายหลายๆวัน อาจสร้างปัญหาให้กับร่างกายได้ วิธีบังคับให้ถ่ายตอนเช้าคือ ก่อนนอนให้กินอาหารที่ช่วยระบาย เช่น มะขาม แต่ระวังอย่ากินตอนเช้า มิฉะนั้นอาจจะไปถ่ายกลางทาง แต่ถ้ายังไม่ปวดท้องตอนเช้า ให้นั่งหรือนอนตะแคงเพื่อทำสมาธิ หรือนั่งคิดถึงเรื่องที่ทำให้รู้สึกมีความสุข สักพักจนรู้สึกสบาย พอหายตื่นเต้นแล้วเดี๋ยวจะปวดท้องเอง
การกินมะขาม ควรใช้เฉพาะเวลาจำเป็นเท่านั้นอย่าใช้เป็นประจำ เพราะมะขามเมื่อใช้ครั้งแรก จะไปกระตุ้นให้ลำไส้เคลื่อนไหวแต่หลังจากลำไส้เคยชินกับการกระตุ้นแล้ว ครั้งต่อไปจะใช้ไม่ได้ผลต้องกินในปริมาณสูงขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาท้องผูกจริงๆแล้วเกิดจากร่างกายขาดแร่ธาตุ โดยเฉพาะแมกนีเซียม ทำให้ลำไส้ไม่ค่อยขยับตัว การกินผักผลไม้สม่ำเสมอจะช่วยให้ร่างกายได้รับแมกนีเซียม ช่วยให้อาการท้องผูกหายไป ร่างกายสะสมแมกนีเซียมได้ถึงแม้ว่าเวลาอยู่ในป่าจะไม่ค่อยได้รับแมกนีเซียมเพียงพอร่างกายก็สามารถนำแมกนีเซียมที่สะสมไว้มาใช้ได้
การขุดหลุม สามารถใช้กิ่งไม้ที่ตายแล้วแต่ยังคงติดอยู่คาต้นเพราะกิ่งไม้สดจะอ่อนและกิ่งไม้แห้งจะเปราะ หาขนาดพอดีสองมือจับ เหลาปลายให้แหลมค่อยๆขูดดินไปทีละน้อย ถ้าจะทำให้ปลายแข็งให้นำไปอิงไฟ หรือนำไม้ไผ่สดมาผ่าครึ่งซึกด้านล้าง ส่วนด้านบนเหลือเป็นท่อนกลมๆไว้สำหรับมือจับ ก็จะช่วยให้สะดวกมากยิ่งขึ้น