
1 ปีที่แสนคุ้มค่า คือระยะเวลาที่เหมาะสม กับ การใช้งานรองเท้าวิ่ง คู่ใจคุณ
1 ปีที่แสนคุ้มค่า คือระยะเวลาที่เหมาะสม กับ การใช้งานรองเท้าวิ่ง คู่ใจคุณ
มาใส่ใจกับเรื่องรองเท้าวิ่งของเรากันเถอะ
ตอนนี้คุณใช้งานรองเท้าวิ่งของคุณมากี่ปีแล้ว เป็นเวลานานเท่าไหร่แล้วที่คุณยังคงใช้รองเท้าคู่เดิมอยู่ทุกเช้าเย็นในการวิ่งออกกำลังกาย บางคนอาจจะมีหลายคู่หรือซื้อไว้นานแล้วไม่ค่อยได้ใช้ แต่ก็ถึงเวลาแล้วที่เราจะหันมาใส่ใจสุขภาพเท้าของเรากับเรื่องเล็กๆน้อยๆอย่างระยะการใช้งาน เพราะรองเท้ามีผลกับสุขภาพเท้าของเราโดยตรงหากเราชะล่าใจก็อาจยิ่งส่งผลเสียต่อเท้าในวันข้างหน้าได้ และหากคำตอบที่ได้คือ การใช้งานรองเท้าวิ่ง ของคุณใช้มานานแล้วนั่นก็เป็นสิ่งที่จะยืนยันว่า ถึงเวลาที่คุณจะต้องเปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่แล้ว เพราะรองเท้าที่ใส่ไปนานๆนั้นย่อมต้องสึกหรอไปตามกาลเวลา คุณสามารถสังเกตได้จากลักษณะของรองเท้าที่เปลี่ยนไป เช่น พื้นรองเท้า ส้นรองเท้า หรือหนังหุ้มรองเท้า หากมีร่องรอยฉีกขาดก็ควรเปลี่ยนรองเท้าคู่ใหม่ดีกว่า เพียงแค่คลิก sportlifeonline.com คุณก็สามารถเลือกซื้อรองเท้าคู่ใหม่ของคุณได้ทันที
ระยะเวลาที่เหมาะสม คือ 1 ปี
รองเท้าวิ่งที่ดีควรมีอายุการใช้งานไม่เกิน 1 ปี เพราะยิ่งใช้ไปนานๆก็จะยิ่งสึกหรอลงได้ หรือแม้แต่รองเท้าที่วางไว้บนชั้นเฉยๆ โดยไม่มีการใช้งานก็สามารถเสื่อมสภาพลงได้เช่นกัน ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อรองเท้าที่ผลิตใหม่อัพเดทอยู่เสมอไม่เกิน 1 ปี
ซึ่งในทางเชิงความรู้นั้น การเดินปกติจะมีแรงกระแทกลงมาที่ส้นเท้าประมาณ 100% ของน้ำหนักตัว แต่การวิ่งจะมีแรงกระแทกลงมาที่ส้นเท้ามากถึง 200-300% ของน้ำหนักตัว ทำให้ส้นเท้าได้รับแรงกระแทกแล้วสะท้อนกลับขึ้นไปยังข้อเท้า ขา จนถึงกระดูกเอว อาจทำให้เกิดอาการปวดตามอวัยวะต่างๆได้ แม้รองเท้าทั่วไปจะมีแผ่นรับแรงกระแทก แต่ไม่มากพอที่จะรองรับการวิ่ง ดังนั้น หากเราเล่นกีฬาอย่างจริงจังก็ควรที่จะซื้อรองเท้ากีฬา ซึ่งมีแผ่นรับแรงกระแทกที่หนาและเหมาะสมกับกิจกรรมการออกกำลังกายของเรา เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังต้องเลือกซื้อรองเท้าให้เหมาะสมกับกีฬาที่เล่นและรูปร่างของเท้าด้วย เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ
โดยรูปร่างของเท้ามี 3 แบบ คือ
1. โก่งลอย คือส่วนกลางของฝ่าเท้าจะได้รับแรงกระแทกมาก ต้องเลือกรองเท้าที่มีพื้นหนานุ่ม
2. อุ้งเท้าโก่ง ควรเลือกรองเท้าที่มีส้นฐานกว้าง เพื่อเสริมความมั่นคงให้กับเท้า
3. อุ้งเท้าแบน เท้าจะมีลักษณะเอียงเข้าด้านใน และส่วนกลางของเท้ากว้าง ควรเลือกรองเท้าที่โครงสร้างของส่วนหุ้มข้อเท้าแข็งแรง ลดการเอียงล้มเข้าด้านในและไม่เลือกรองเท้าที่มีส่วนกลางคอด นอกจากนี้ควรเลือกซื้อรองเท้าเวลาใกล้เคียงกับที่เล่นกีฬาเพื่อให้รองเท้ามีความพอดีกับเท้า
สาระน่ารู้เรื่องรองเท้ากีฬา
รองเท้ากีฬามี 3 ประเภท คือ 1. รองเท้ากีฬาสำหรับวิ่ง แบ่งเป็นรองเท้าจ๊อกกิ้ง ซึ่งการวิ่งจะลงส้นแล้วส่งน้ำหนักไปที่หน้าเท้า รองเท้าจ็อกกิ้งจึงมีการเสริมส้นหนาและบานออกเพื่อรับแรงกระแทก ป้องกันการล้ม อีกแบบคือการรองเท้าสปรินเตอร์ สำหรับนักวิ่งแข่งหรือการวิ่งบนลู่ รองเท้าแบบนี้จะมีตุ่มแหลมเพื่อช่วยจิกตะกรุยพื้นให้วิ่งถีบไปข้างหน้าได้
2. รองเท้ากีฬาประเภทเล่นในคอร์ด อย่างเทนนิสที่มีการยืนบนหน้าตลอด ตัวเสริมก็จะต้องอยู่ที่หน้าเท้า บาสเกตบอลที่มีการกระโดดมาก รองเท้าก็จะมีลักษณะหุ้มข้อขึ้นมาเพื่อช่วยเตือนผู้เล่นให้ทราบว่าข้อเท้าอยู่ในท่าตรงหรือไม่ ป้องกันเท้าพลิก
3. รองเท้าประเภทสนาม จะเป็นตุ่มหนามเพื่อช่วยจิกสนามไม่ให้ลื่นไถล เช่น รองเท้าฟุตบอล แต่ตัวรองรับแรงกระแทกที่พื้นจะไม่เยอะ เพราะเล่นบนหญ้า บนพื้นดินที่มีความนุ่มช่วยรับแรงกระแทก เป็นต้น
ข้อห้ามในการเลือกซื้อรองเท้า
1. เลือกเพราะความสวย ควรให้ความสวยเป็นองค์ประกอบเพิ่มเติมจากความเหมาะสม เมื่อใส่แล้วรู้สึกเหมาะกับเท้าเรา จากนั้นค่อยดูเรื่องความสวยงามก็ได้
2. เลือกรองเท้าที่เล็กเกินไป หลายๆคนมักเลือกรองเท้าที่คับเกินไป บางคนเผื่อว่ารองเท้าจะยืดทีหลัง บางคนเลือกรองเท้าตามกีฬาประเภทอื่นที่ตนเคยเล่น สุดท้ายรองเท้าคับเกินจนเจ็บเท้า หลักการง่ายๆคือ “ให้นิ้วเท้าเราเล่นเปียโนได้” หมายความว่ามีที่พอที่นิ้วเท้าเราสามารถขยับไปมาได้ประมาณครึ่งนิ้วจากปลายรองเท้า
3. ซื้อรองเท้าผิดเวลา ในช่วงเวลาหนึ่งวันเท้าเรามีขนาดไม่เท่ากัน ปกติแล้วในตอนเช้าเท้าเราจะเล็กกว่าตอนเย็น โดยเฉพาะตอนวิ่งเท้าเราก็จะขยายขึ้นไปอีก ดังนั้นถ้าเป็นไปได้พยายามซื้อรองเท้าตอนเย็น
4. คาดเดาขนาด Size รองเท้าตัวเองผิด เพราะลักษณะทรงของรองเท้าไม่เหมือนกัน ที่ใส่ไม่ได้อาจเป็นเพราะคนละยี่ห้อ คนละรุ่น ก็ไม่เหมือนกัน ดังนั้นจึงแนะนำให้ลองรองเท้าที่เรากำลังจะซื้อจะดีที่สุด
วิธีเช็คสภาพรองเท้าว่าควรเปลี่ยนแล้วหรือยัง
1. พื้นรองเท้า พื้นของรองเท้ากีฬาวิ่งแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ ชั้นใน ชั้นกลาง และชั้นนอก โดยส่วนสำคัญที่สุดและหมั่นเช็คสภาพเป็นประจำก็คือ พื้นรองเท้าชั้นกลางหรือบริเวณที่เป็นฟองน้ำนิ่มๆ อยู่ระหว่างหน้าพื้นกับด้านล่างสุดของพื้น เพราะเป็นชั้นที่ช่วยรับน้ำหนักตัวทั้งหมด เพื่อกระจายแรงกระแทกไปยังส่วนอื่น ดังนั้นถ้าหากเกิดการสึกกร่อนหรือเสียหายแสดงว่าจะต้องเปลี่ยนคู่ใหม่
2. ระยะทางในการวิ่ง หากใส่รองเท้าวิ่งมานานหลายปีแล้ว หรือถ้าหากนับรวมระยะทางวิ่งแล้วได้ราว 563 กิโลเมตรซึ่งเท่ากับ 70 กิโลเมตรต่อสัปดาห์ ก็ควรมองหาลองเท้าคู่ใหม่ได้เพื่อความสบายในการสวมใส่ และสุขภาพเท้าของตัวเอง
3. สภาพของพื้นผิวในการวิ่ง หากวิ่งบนพื้นผิวที่มีความขรุขระมากอาจต้องเปลี่ยนรองเท้าเร็วกว่าคนอื่น ๆ รวมไปถึงความมากน้อยของน้ำหนักตัวด้วย หากน้ำหนักตัวไม่มากรองเท้ากีฬาอาจจะใช้งานได้นานกว่าคนที่มีน้ำหนักตัวเยอะ