
ทริปการเดินป่า ของคุณจะอุ่นใจไร้ข้อกังวล เมื่อคลิก sportlifeonline.com
ทริปการเดินป่า ของคุณจะอุ่นใจไร้ข้อกังวล เมื่อคลิก sportlifeonline.com
สำหรับคนรักการท่องเที่ยวแนวผจญภัย เชื่อแน่ว่าท่านต้องเคยออก ทริปการเดินป่า ไปสัมผัสธรรมชาติแบบใกล้ชิด ทั้ง ภูเขา ป่าไม้ น้ำตก หรือทะเล สิ่งสำคัญคือการเดินทางทุกครั้งจำเป็นต้องมีการเตรียมตัวอย่างดีโดยเฉพาะการเตรียมสภาพร่างกายรวมไปถึงข้าวของสัมภาระต่างๆที่จะคอยอำนวยความสะดวกให้กับคุณในเวลาเดินทาง แม้จะมีกฎและข้อบังคับที่ละเอียดอ่อนในการเดินป่ามากมาย แต่ประสบการณ์ชีวิตและผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับนั้นมีค่ามหาศาลอย่างแน่นอน
สาระน่ารู้ เรื่องความพร้อมก่อนการเดินป่า
1. ร่างกายต้องพร้อม ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว ควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อหน้าขาล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1เดือน
2. ถุงนอน เป็นสิ่งที่จำเป็นที่สุดในบรรดาของใช้ต่างๆ เพราะถุงนอนจะเป็นเครื่องกันหนาวให้ความอบอุ่นแก่เราได้ดีเวลานอน วิธีเลือกถุงนอนให้ดูตามขนาดกว้างคูณยาว ให้มีความยาวมากกว่าความสูงของผู้ใช้เพื่อจะได้คลุมได้ทั้งตัว
3. เต็นท์นอน เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ เพราะจะเป็นตัวกันน้ำค้างในยามดึก และบังลมหนาวได้
ขนาดการเลือกซื้อเต็นท์นอน ควรเลือกที่มากกว่าจำนวนคนนอน 1 คน หากนอน 2 คน ให้เลือกเต็นท์ขนาด 3 คนขึ้นไป เพื่อเผื่อที่ไว้สำหรับของใช้จำเป็นอื่นๆ ด้วย ควรเป็นแบบผ้าร่ม แบบมีความหนาและเบา สะดวกในการขนย้าย ควรต้องพลิกตะเข็บดูการตัดเย็บ โดยเฉพาะจุดรอยต่อ ควรมีการเย็บเก็บที่แน่นหนา เรียบร้อย และควรเป็นผ้าเต็นท์ที่กันน้ำฝนและน้ำค้างได้ดี หากต้องใช้ในที่อากาศเย็นอาจเลือกผ้าเต็นท์ที่สามารถเก็บกักและรักษาอุณหภูมิได้ดี รวมถึงความแข็งแรง ของวัสดุที่ใช้ในการทำโครง ต้องมีคุณภาพ ยืดหยุ่น คงทน ไม่หักแตกยุบง่าย รวมทั้งน้ำหนักต้องเบา และสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายสะดวก
4. เสื้อผ้า รองเท้า ควรเตรียมเสื้อผ้าไปด้วยอย่างน้อยสัก 2-3 ชุด ประกอบด้วย เสื้อเดินป่า แขนยาว เสื้อกันหนาว กางเกงเดินป่า ขายาว ไม่แนะนำกางเกงยีนส์ หมวก รองเท้าเดินป่า ควรเป็นแบบใส่สบาย แต่มีความทนทานสำหรับเส้นทางในป่า
5. ของใช้ส่วนตัวต่างๆ เช่น แปรง ยาสีฟัน สบู่ โฟมล้างหน้า ครีมกันแดด ผ้าเช็ดตัว ควรเตรียมตัวไปให้พร้อม และ อุปกรณ์กันยุง เช่น สเปรย์ไล่ยุง ครีมทากันยุง
6. ของใช้อื่นๆ ที่จำเป็น เช่น มีด ไฟฉายพร้อมถ่านสำรอง ถุงพลาสติก อุปกรณ์ในการจุดไฟ สำหรับดำรงชีวิต
7. ชุดปฐมพยาบาลและยา ทั้งยากันสัตว์ร้ายจำพวกทาก ยาแก้ไข้ และยาสามัญทั่วไป หรือประเภท ยาใส่แผล ผ้าพันแผล แอลกอฮอล์ล้างแผล ยาแก้ท้องเสีย ยาแก้ปวด ยาแก้เคล็ดขัดยอก เป็นต้น และที่สำคัญคือยารักษาโรคประจำตัวต่างๆ
8. อาหารกระป๋อง สำรองสัก 2 -3 วัน ในกรณีที่อาจเกิดการหลงป่า
9.เข็มทิศ ตัวช่วยสำรอง เมื่อมือถือคุณแบตหมด หรือไม่สามารถใช้งานได้ 10. ไฟฉาย ขนาดพกพา ในป่ามีแสงสว่างน้อย ไม่จำเป็นต้องใช้ไฟฉายที่มีขนาดใหญ่มาก
การเตรียมความพร้อมด้านร่างกายก่อนออกเดินป่า
1) ควรออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น วิ่ง ออกกำลังฟิตเนส หรือการบริหารร่างกาย การฝึกโยคะ เพื่อทำให้หัวใจและกล้ามเนื้อของร่างกายทุกส่วนได้คุ้นเคยก่อนที่จะใช้งานในการเดินทาง
2) ออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆ ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อน่องและขาโดยตรงเพิ่มเติม ซึ่งท่าที่เราแนะนำก็คือ ท่ายืน-นั่งยอง (Squat) โดยเอามือกุมกัน วางบนศีรษะ ยืนเท้าห่างกันเท่ากับไหล่ หายใจออก-พร้อมย่อขานั่งยอง หายใจเข้า-พร้อมยืดขายืนขึ้น สำหรับมือใหม่ให้เริ่มจากการทำเซทละ 20 ครั้ง ไม่เกิน 2 นาที พัก 10 นาทีแล้วทำต่ออีก หนึ่งเซท โดยทำอย่างน้อยวันละ 2-4 เซท (เช้า/เย็น) ใช้เวลาเพียงวันละ 8 นาทีเท่านั้น
3. การเตรียมจิตใจสำหรับ ทริปเดินป่า การเตรียมร่างกายไปอย่างเดียวอาจไม่พอ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญนั่นก็คือ “การเตรียมจิตใจ” นั่นเอง เพราะกิจกรรมประเภทนี้ ต้องใช้ความอดทน มุ่งมั่น และกำลังใจกันไม่น้อยซึ่งการเตรียมจิตใจเบื้องต้นง่ายๆ เพียงเท่านี้ ก็พร้อมออกลุยเพื่อค้นหาประสบการณ์ใหม่ๆ และพบเจอสถานที่ที่สวยงามแล้ว
แนะนำเทคนิคเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจเดินป่า
ระหว่างออกทริป ไม่ว่าจะเดินในน้ำ เดินขึ้นเขา หรือเดินลงเขา ถ้าจะให้ไม่เหนื่อยมาก ลดโอกาสการเป็นตะคริว ไม่กลัวทางสูงชัน ไม่กลัวทางลื่น ไม่กลัวทางเละ ไม่ปวดน่องปวดหน้าขามาก ไม่เจ็บปลายนิ้วเท้าเวลาลงเขา และรองเท้าก็ไม่จำเป็นต้องหารองเท้า ที่มีดอกลึก ขอแนะนำว่า ให้ใช้ไม้เท้าในการเดินป่าทุกครั้ง ไม้เท้าดีมีประโยชน์สูงสุด ควรมีความยาวเท่าความสูงของตัวเรา + 20 เซ็นติเมตร หรืออย่างน้อยก็ยาวเท่าความสูงของตัวเรา เมื่อใช้ไม้เท้าเป็นแล้วเส้นทางเดินที่ยากก็จะง่ายลงมาก หากใช้ไม้เท้าเป็น ถือไม้เท้าเป็นแล้ว เส้นทางที่ว่ายากก็จะง่ายลง มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เหนื่อยน้อยลง เมื่อยน้อยลง เดินได้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเดินในน้ำ เดินขึ้นเขา เดินลงเขา หรือแม้แต่พื้นราบ
เทคนิคสำคัญสำคัญที่สุดในการเดินป่า
การรักษาระดับการหายใจให้สม่ำเสมอ ก้าวเท้าแบบสมาธิ ให้ประสานกับการหายใจ รักษาความเร็วในการเดินสม่ำเสมอ ไม่ต้องเร่งเดิน ควรหายใจทั้งทางจมูกและปาก การก้าวเดินเมื่อขึ้นเขา หรือลงเขาให้ก้าวสั้นกว่าปกติ อย่าให้ต้องก้าวขึ้นหรือลงสูงเกินไป หาจุดวางเท้าให้ระยะความสูงของก้าวเท้าต่ำๆ เมื่อลงเขาหรือขึ้นเขาให้วางเท้าแบบเฉียงๆ ถ้าชันมากให้วางเท้าขวาง 90 องศาเลย จะทำให้โอกาสลื่นล้มน้อยลง เมื่อเดินเลาะริมผาหรือริมเขา ให้กางมือออกแตะผนังไว้ ตัวเราก็จะเอนเข้าหาด้านนั้นโดยธรรมชาติซึ่งจะทำให้ปลอดภัย