
ให้แต่ละก้าวที่วิ่ง เซฟและถนอมเท้าคุณ ด้วย รองเท้าวิ่ง ที่ดีที่สุดจาก sportlifeonline ยิ่งวิ่งยิ่งจำเป็นต้องใช้
ให้แต่ละก้าวที่วิ่ง เซฟและถนอมเท้าคุณ ด้วยรองเท้าวิ่งที่ดีที่สุดจาก sportlifeonline
ยิ่งวิ่งยิ่งจำเป็นต้องใช้
รองเท้าวิ่ง นับเป็นอุปกรณ์สำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องใช้ในการวิ่งหรือเดินเร็วในการออกกำลังกายทุกครั้ง ซึ่งเชื่อแน่ว่าทุกคนต้องรองเท้าวิ่งติดบ้านไว้อย่างน้อยคนละคู่ถึงสองคู่ เนื่องจากประโยชน์ของรองเท้าวิ่งนั้นไม่ได้อยู่ที่อำนวยความสะดวกในการวิ่งเพียงอย่างเดียว หากแต่ยังช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับเท้าของเราได้ รวมไปถึงช่วยลดแรงกระแทกตรงบริเวณฝ่าเท้าและข้อเท้าในการลงน้ำหนักขณะที่เราวิ่งด้วย ยิ่งนักกีฬาวิ่งด้วยแล้วยิ่งต้องมีความจำเป็นอย่างมาที่จะต้องใส่รองเท้าวิ่งที่ออกแบบมาเป็นอย่างดีเพื่อช่วยซัพพอร์ตเท้าในขณะการแข่งขัน นักกีฬาที่ได้เปรียบและประสบสำเร็จในการแข่งขันคือผู้ที่ใส่รองเท้าวิ่งคุณภาพเยี่ยมนั่นเอง
คนยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพกันมากขึ้น เราจึงเห็นว่าในช่วงเวลาเย็นๆจะมีหนุ่มสาวออฟฟิศคนทำงานสวมรองเท้าวิ่งคู่ใจไปวิ่งกันอย่างคึกคัก เพื่อเป็นการผ่อนคลายยืดเส้นให้ร่างกายหลังจากที่นั่งหน้าคอมมาตลอดทั้งวัน เนื่องจากการวิ่งเป็นกีฬาที่เล่นง่าย สามารถทำได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือมากมายแค่มีรองเท้าก็ออกวิ่งได้ แต่การวิ่งก็มีโอกาสบาดเจ็บสูงหากวิ่งไม่ถูกวิธี และเลือกรองเท้าไม่เหมาะกับตัวเอง
ข้อแนะนำในการวิ่งที่ถูกวิธี
การวิ่งที่ถูกต้องที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บน้อยที่สุด คือ การลงด้วยส้นเท้าแล้วถ่ายน้ำหนักไปที่ฝ่าเท้า วิธีนี้จะรับแรงกระแทกน้อยที่สุด คือ ประมาณ 1-1.5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่งลงเต็มเท้าเราจะรับแรกกระแทกถึง 3 เท่าของน้ำหนักตัวเลยทีเดียว ฉะนั้นการวิ่งลงเต็มเท้าก็เหมือนเราแบกรับน้ำหนักเป็นสามเท่าของเรา นี่คือสาเหตุของการบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นข้อเท้า หัวเข่า น่อง หรือ เอว ซึ่งรองเท้าที่ดีพื้นรองเท้าสำคัญมาก ต้องใช้วัสดุที่ทำให้แรงกระแทกกระจายได้ทั่วถึงกัน ต้องมีการกระจายแรงหลังจากลงด้วยส้นแล้วถ่ายไปที่ฝ่าเท้าปลายเท้าต้องดีและควรจะเป็นพื้นแข็งเท่ากันตลอดทั้งรองเท้าด้วย หากท่านใดที่ไม่มีเวลาเดินทางไปยังสนานที่ออกกำลังกายได้ก็ขอแนะนำให้วิ่งบนลู่วิ่งแทนได้เช่นกัน
สาระน่ารู้ เรื่อง การใช้งานรองเท้าวิ่งไม่ให้ปวดเข่า
1. การยืดกล้ามเนื้อรอบเข่าและข้อเท้าให้เพียงพอ
ควรยืดช้าๆ ค้างไว้ 10 – 15 วินาทีต่อครั้ง ทำประมาณ 5 – 10 ครั้งต่อมัด และหมั่นออกกำลังกล้ามเนื้อต้นขาโดยการเหยียดเข่าตรงและเกร็งค้างไว้ 5 วินาทีต่อครั้ง ทำประมาณ 10 – 20 ครั้งต่อวัน
2. วอร์มอัพให้เพียงพอ
โดยเริ่มจากการเดินเร็วหรือวิ่งเหยาะๆก่อนที่จะวิ่งเต็มที่ เพื่อการปรับตัวของกล้ามเนื้อระบบไหลเวียนโลหิต และระบบการหายใจ
3. เลือกรองเท้าที่เหมาะสมกับการวิ่ง
ควรมีพื้นกันแรงกระแทกที่เพียงพอและมีความกระชับพอดีกับเท้า โดยทั่วไปถ้าต้องการวิ่งออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ ให้เลือกรองเท้าแบบ cross training
4. ใช้อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้า
ถ้าคุณมีเท้าแบนหรือไม่มีอุ้งเท้าสูงเพียงพอ เวลาวิ่งนานๆอาจทำให้มีแรงปฏิกิริยาจากพื้นกระทำต่อข้อเท้าและข้อเข่าทำให้เกิดอาการปวดเข่าหรือข้อเท้าเรื้อรังได้ ควรไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา หรือลองซื้อแผ่นยางเสริมอุ้งเท้ามาติดภายในรองเท้า
5. เลือกบริเวณวิ่งให้เหมาะสม
ควรเป็นพื้นที่เสมอกันไม่ควรวิ่งบริเวณที่เป็นพื้นเอียงหรือบริเวณที่มีการหักเลี้ยวอย่างเฉียบพลัน พื้นวิ่งที่ดีที่สุดคือพื้นยางสังเคราะห์หรือพื้นดิน เพราะมีความนุ่มและเก็บพลังงานเพื่อเปลี่ยนเป็นแรงส่งตัวได้ดี ถ้าจะวิ่งบนพื้นคอนกรีต ควรเลือกรองเท้าที่รับแรงกระแทกอย่างเพียงพอ
6. ไม่ควรวิ่งก้าวเท้ายาวเกินไป
หรือยกเข่าสูงเกินไป เพราะทำให้ข้อเข่าต้องงอ มากเกินความจำเป็น ทำให้เกิดปัญหาปวดเข่า ได้ง่ายขึ้น ส่วนแขนก็ควรงอเพียงเล็กน้อยและแกว่งข้างลำตัว ในกรณีที่คุณมีปัญหาปวดหลังหรือน้ำหนักตัวมาก ควรแกว่งแขน ให้ค่อนมาทางด้านหลังเพื่อไม่ให้ลำตัวก้มไปข้างหน้ามากเกินไปด้วย
7. ควรวิ่งโดยลงน้ำหนักที่ส้นเท้า
การวิ่งโดยลงน้ำหนักที่ปลายเท้านานๆจะทำให้เกิดแรงกระชากพังผืดฝ่าเท้า ปวดกล้ามเนื้อน่อง และยังเกิดแนวแรงที่ผิดปกติที่ผ่านต่อข้อเข่า ทำให้ต้องงอเข่ามากขึ้นขณะวิ่ง อาจทำให้เกิดการปวดเข่าด้านหน้าอีกด้วย
8. ไม่ควรวิ่งขึ้นลงเนิน
ถ้าคุณมีปัญหาที่ข้อเข่าบ่อยๆ ถ้าจะวิ่งขึ้นเนินให้เอนลำตัวไปด้านหน้า ก้าวเท้าให้สั้นลง และมองตรงไปข้างหน้า ไม่ควรแหงนหน้าขึ้น ถ้าจะวิ่งลงเนิน พยายามให้ลำตัวตั้งตรง เพื่อกันการเสียหลักได้ และควรก้าวเท้าให้ยาวขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติ
9. ระยะทางที่วิ่งต้องเหมาะสม ถ้าจะเพิ่มระยะทาง ก็ควรเพิ่มช้าๆในแต่ละสัปดาห์
10. ค่อยๆลดความเร็วลง เมื่อใกล้จะหยุดวิ่ง
และควรเดินต่ออีกสักพักเพื่อให้ร่างกายได้ชะเอากรดแล็กติกออกไปจากกล้ามเนื้อบ้าง ช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังวิ่งในวันรุ่งขึ้น
11. หมั่นออกกำลังกายกล้ามเนื้อต้นขา โดยการเหยียดเข่าตรงและเกร็งค้างไว้ 5 วินาทีต่อครั้ง ทำประมาณ 10 – 20 ครั้งต่อวัน
12. หาตัวช่วยอื่น ถ้าคุณมีภาวะข้อเสื่อมอย่างชัดเจน ควรออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นแทนการวิ่ง