
วิ่งด้วยกันวันละนิด จิตแจ่มใส ใจแข็งแรง
วิ่งด้วยกันวันละนิด จิตแจ่มใส ใจแข็งแรง sportlifeonline พร้อมเคียงข้างคุณในการวิ่งเสมอ
วิ่งด้วยกันวันละนิด จิตแจ่มใส ใจแข็งแรง เราต้องยอมรับว่าประโยชน์ของการวิ่งนั้นมีผลดีต่อสุขภาพมากมายและมีผลดีต่อหัวใจมากกว่าการเดินด้วย ซึ่งสำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นการวิ่งนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าหากคุณคิดจะออกกำลังกายโดยการวิ่งไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าใดให้ปรึกษาแพทย์ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีทีมีปัญหาเรื่องสุขภาพหลังและเท้า โดยหลังจากที่แพทย์ประเมินสภาพว่าสามารถวิ่งออกกำลังกายได้ ท่านอาจจะเริ่มต้นโดยการเดินให้มากขึ้นหรือใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อนหลังจากนั้นจึงเริ่มต้นการออกกำลังกายโดยการเดินเร็วและขยับไปสู่การวิ่งในระยะต่างๆได้
สาระเพิ่มเติม เรื่องการพักผ่อนให้เพียงพอต่อการวิ่ง
การให้ร่างกายได้พักผ่อนนั้นมีความสำคัญเท่าเทียมกับการบริหารร่างกาย เพราะถ้าหากคุณไม่ให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็เป็นที่แน่นอนว่าคุณจะต้องพบเจอกับความเหนื่อยล้า ประสิทธิภาพการออกกำลังที่ลดลง และพลอยจะท้อเอาได้ง่ายๆ จนในที่สุดคุณก็อาจพบเจอกับอาการบาดเจ็บ มีผู้วิ่งหลายๆ คนเคยฝ่าฝืนกฎเหล็กข้อนี้แล้วก็ต้องมาเสียใจภายหลัง
สิ่งที่ขอแนะนำคือ ใช้การวิ่งวันเว้นวัน โดยวันที่ไม่ได้วิ่งก็เปลี่ยนไปออกกำลังกายเบาๆ เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้ออย่างเช่นยกเวท หรือจะเป็นการทำโยคะเพื่อกระชับสัดส่วนก็ได้ ส่วนคนที่อยากลดน้ำหนักแบบจัดเต็มด้วยการบริหารร่างกายทุกวันก็ควรจะให้มีอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ที่เป็นวันพักผ่อนอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานหนักเกินไป
ประเภทของการวิ่ง
การวิ่งระยะสั้น
เป็นการวิ่งแข่งขันระยะทาง ตั้งแต่ 50 เมตร 60 เมตร 80 เมตร 100 เมตร 200 เมตร จนถึง 400 เมตรทักษะที่สำคัญของการวิ่งระยะสั้น คือ การตั้งต้นการวิ่ง การวิ่ง และการเข้าเส้นชัย ที่ยันเท้าเป็นอุปกรณ์สำคัญของนักกรีฑาวิ่งระยะสั้น เริ่มมีการใช้มาตั้งแต่เริ่มมีการใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2470 เพราะทำให้สะดวกและเป็นผลดีต่อการวิ่ง สามารถปรับได้ระดับกับนักกรีฑาแต่ละคนและไม่ทำให้สนามเสีย การออมกำลังในการวิ่งก็เป็นสิ่งจำเป็นของนักกรีฑาวิ่งในระยะตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป เพราะนักวิ่งไม่สามารถวิ่งได้เร็วสม่ำเสมอตลอดระยะทาง เพราะขีดความสามารถและความเหนื่อยเป็นอุปสรรค จึงต้องซ้อมรักษาความเร็วในช่วงกลางของระยะวิ่งให้คงที่ โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดและไปเร่งเมื่อใกล้ถึงเส้นชัยอีกครั้งนักกีฬาต้องรู้และมีประสบการณ์ด้วยตนเองว่าควรหายใจด้วยวิธีใดจึงจะให้เกิดผลดีที่สุดและมีอากาศเพียงพอตลอดระยะทางการวิ่ง นักกรีฑาต้องวิ่งในช่องวิ่งเฉพาะตัวตลอดระยะทาง คุณสมบัติของนักกรีฑาวิ่งระยะสั้น กล้ามเนื้อขาแข็งแรง มีความเร็วในการเคลื่อนที่ มีความสามารถในการก้าวเท้าได้ยาวและเร็วในการตั้งต้นการวิ่ง
การวิ่งระยะกลาง
เป็นการวิ่งระยะ 8 00 เมตร และ 1,500 เมตร การวิ่งระยะกลาง ต้องอาศัยฝีเท้าการวิ่งแบบระยะสั้น ใช้ความเร็วและความทนทานแบบการวิ่งระยะไกล นักกีฬาวิ่งระยะสั้นจึงสามารถเปลี่ยนมาวิ่งระยะกลางได้ไม่ยาก เพียงแต่ฝึกความทนทานให้มากขึ้นและเช่นเดียวกัน นักกีฬาวิ่งระยะไกลก็สามารถเปลี่ยนมาวิ่งระยะกลางได้ โดยฝึกความเร็วเพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด คือ นักกีฬาระยะกลางต้องรู้ว่าตนเอง ต้องใช้กำลังอย่างไรตลอดระยะทางการวิ่ง จังหวะการก้าวขาพร้อมความสัมพันธ์ของการแกว่งแขนและการก้าวเท้า
การวิ่งระยะไกล
เป็นการวิ่งระยะทางตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป ลักษณะของนักกีฬาวิ่งระยะไกล มีรูปร่างค่อนข้างสูง น้ำหนักปานกลาง กล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรง สิ่งสำคัญในการวิ่งระยะไกลคือ จังหวะในการวิ่ง จังหวะในการก้าวขาและการแกว่งแขนที่จะใช้กำลังให้น้อยที่สุดการก้าววิ่งเต็ม ฝีเท้าช่วงก้าวยาวสม่ำเสมอรักษาช่วงก้าว ให้เท้าสัมผัสพื้นในลักษณะลงด้วยส้นเท้าผ่อนลงสู่ปลายเท้าลำตัวตั้งมากกว่าการวิ่งระยะอื่น
การหายใจขณะวิ่ง
จังหวะการหายใจควรเป็นไปตามธรรมชาติ อย่าฝืนหรือชะลอจังหวะการหายใจ ขณะวิ่งควรหายใจทั้งเข้าและออก ทางจมูก ต่อเมื่อรู้สึกว่าหายใจไม่พอ จึงหายใจเข้าทางจมูกแล้วปล่อยลมออกทั้งทางจมูกและปากพร้อมกัน แต่ถ้าเหนื่อย มากๆ ก็ใช้การหายใจ ทางปากช่วยเป็นช่วงๆ และควรผ่อนความเร็วลง ตามปกติแล้วเมื่อวิ่งไประยะหนึ่ง จังหวะการหายใจ จะปรับตัวเองให้เข้ากับจังหวะ การวิ่งซึ่งจะเป็นช่วงที่เรารู้สึกว่าวิ่งสบาย
ลำตัวและศีรษะ ควรตั้งตรงเพื่อลดอาการปวดหลังและลดแรงเครียดที่เกิดในกล้ามเนื้อขาการแกว่งแขน งอข้อศอกเล็กน้อย กำมือหลวมๆ และแกว่งแขนไปข้างหน้าต่ำๆ ข้างลำตัวในลักษณะสบาย ไม่เกร็ง เป็นจังหวะที่สัมพันธ์ กับการก้าวเท้า คือแกว่างแขนซ้าย ไปข้างหน้าขณะก้าวเท้าขวา ข้อศอกงอเล็กน้อย กำมือหลวมๆ
การลงเท้า มี 3 วิธี คือ
1. ลงส้นเท้าก่อนปลายเท้า เป็นท่าที่เหมาะสำหรับนักวิ่งเพื่อสุขภาพอย่างเราๆ ท่านๆ โดยส้นเท้าจะสัมผัสพื้นก่อนแล้วทั้งฝ่าเท้าจะตามมาและเมื่อปลายเท้าลงมา แตะพื้นก็เป็นจังหวะที่ส้นเท้ายกขึ้น เข่าไม่ยกสูงมากและไม่เหยียดสุด ปลายเท้าจะดันตัวไปข้างหน้า
2. ลงเต็มฝ่าเท้า ฝ่าเท้าจะสัมผัสพื้นพร้อมกันแล้วจึงใช้ปลายเท้าดันต่อไปข้างหน้าซึ่งท่านี้ จะสามารถลดแรงกระแทกของเท้าขณะลงพื้น ได้ดีแต่เป็นท่า ที่เมื่อยมากถ้าวิ่งไปไกลๆ
3. ลงปลายเท้า เหมาะสำหรับการวิ่งเพื่อแข่งขันโดยจะลงพื้นด้วยปลายเท้าซึ่งทำให้มีพลังและ ความเร็วเพิ่มขึ้นมากแตะเพิ่มแรงเครียด ให้กล้ามเนื้อ น่องตึง และเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ ถ้าวิ่งไกลๆ