
วิ่งเถิดจะเกิดผล สุขภาพดีไม่ต้องรอใคร สามารถได้ทันที
วิ่งเถิดจะเกิดผล สุขภาพดีไม่ต้องรอใคร สามารถได้ทันที
ต้องการรองเท้าวิ่งคุณภาพดี ในราคาที่ใช่ คลิก sportlifeonline.com
วิ่งเถิดจะเกิดผล สุขภาพดีไม่ต้องรอใคร สามารถได้ทันที มีหลายเหตุผลที่มักนิยมออกกำลังกายด้วยการวิ่ง เพราะการวิ่งเป็นธรรมชาติของคนเราอยู่แล้วไม่ต้องไปฝึกหัดดัดแปลงเพิ่มเติมอะไร และไม่ต้องไปหาสนามหรือสถานที่ให้ยุ่งยาก เนื่องจากสามารถวิ่งโดยใช้ถนนภายในหมู่บ้านหรือสถานที่ทำงานก็ได้แล้ว อีกทั้งการวิ่งยังไม่ขึ้นกับฤดูกาล คุณสามารถวิ่งในช่วงหน้าร้อนหรือหน้าหนาวไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาเช้าหรือเย็นก็ได้ ที่สำคัญอุปกรณ์ที่ใช้ก็ไม่มาก เพียงแค่มีอุปกรณ์ที่เหมาะสม เช่น ชุดออกกำลังกายและรองเท้าวิ่งที่เหมาะสมเท่านั้น เพราะสุขภาพดีไม่ต้องรอใครสามารถทำเองได้ทันที
วิธีการเลือกรองเท้าวิ่ง
1. บริเวณส่วนบนของหุ้มส้น จะต้องสูงขึ้นและมีแผ่นนุ่มรองรับรอบบริเวณที่ตรงกับเอ็นร้อยหลาย เพื่อป้องกันไม่ให้ระคายเคืองต่อเอ็น
2. ด้านข้างของบริเวณหุ้มส้น ทั้งสองด้านจะต้องแข็งพอที่จะป้องกันการบิดหมุนของส้นเท้า ทำให้บริเวณสันเกิดความมั่นคงขึ้น
3. ด้านหน้าของรองเท้าตรงบริเวณตรงกับนิ้วหัวแม่เท้า จะต้องนูนสูงขึ้น (อย่างน้อย 1/2 นิ้ว) เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วและเล็บหัวแม่เท้าถูกกดเบียด ซึ่งจะนำไปสู่การมีเลือดออกใต้เล็บได้
4. ลิ้นรองเท้า ต้องบุให้นุ่ม และปิดส่วนบนฝ่าเท้าได้หมด เพื่อป้องกันเอ็นของกล้ามเนื้อ กระดกนิ้วเท้าขึ้นถูกเสียดสีและระคายเคืองจนเกิดอาการอักเสบ
5. เชือกผูกรองเท้า ไม่ควรยาวจนเกินไป
6. บริเวณส้นรองเท้า จะต้องฝานให้เป็นรูปมน เพื่อช่วยให้การลงของเท้าภายหลังช่วงส้นกระแทกเป็นไปได้สะดวกและเร็วขึ้น
7. ที่ส้นเท้า จะต้องมีลิ่มที่นุ่ม พอสมควร เสริมในส้น เพื่อที่จะช่วยกลืนแรงขณะที่ส้นเท้ากระแทก
8. แกนยาวของรองเท้า ต้องเป็นเส้นตรง
9. พื้นรองเท้าบริเวณกึ่งกลาง จะต้องหักงอได้เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บของเอ็นร้อยหวาย
10. พื้นรองเท้าครึ่งหลัง ต้องแข็งพอ เพื่อช่วยรองรับอุ้งเท้าได้
11. พื้นรองเท้า จะต้องมีปุ่มสะตั๊ดเพ่อไม่ให้ชื่นและช่วยกลืนแรงสะเทือน
12. พื้นภายในรองเท้า ตรงกับบริเวณอุ้งเท้าต้องเสริมให้นูนสูงขึ้นทางด้านครึ่งในให้เข้ารูปกับอุ้งเท้า เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บบริเวณส้นเท้า และการอักเสบของพังผืดยึดกระดูกฝ่าเท้า
13. ส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อแก้ไขความผิดปกติทางกายวิภาคและชีวกลที่นักวิ่งมี ซึ่งไม่สามารถจะบรรยายในที่นี้ได้ แล้วแต่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาสั่งทำ
การวิ่งส่งผลดีต่อหัวใจ
มีผลงานวิจัยมากมายที่พูดถึงประโยชน์ของการออกกำลังกายกับการป้องกันโรคเกี่ยวกับหัวใจ เพราะการออกกำลังกายทำให้ร่างกายสร้างโคเลสเตอรอลชนิดที่ดี HDL Cholesterol ออกมาสู่ร่างกายมากขึ้น
HDL เป็นโคเลสเตอรอลที่ดีที่ทำหน้าที่เก็บกวาดไขมันในระบบหลอดเลือดเราไปขจัดทิ้งที่ตับ ทำให้ความเสี่ยงจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงอย่างมาก และ HDL นี้จะมีค่าสูงเฉพาะในคนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
ในอดีตเมื่อมีคนถูกตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หมอจะสั่งให้คนไข้งดออกกำลังกายไม่ให้หัวใจทำงานหนัก แต่ปัจจุบันการแพทย์สมัยใหม่กลับส่งเสริมให้คนไข้ออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูความเสื่อมของหัวใจ ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเด็นได้ดังนี้
1. เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจมีขนาดใหญ่ขึ้น
2.เส้นเลือดแตกแขนงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจมากขึ้น
3. ไขมันในเลือดลดลง
4.หัวใจใช้ออกซิเจนจากเลือดได้ดีขึ้น
5. ความดันเลือดลดลง
ผู้สูงอายุกับการวิ่งเพื่อสุขภาพ
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ผู้มีอายุแล้วนั้นจะมีร่างกายที่ไม่เหมือนเมื่อตอนหนุ่มสาวคือกล้ามเนื้ออ่อนแอลง ความยืดหยุ่นของร่างกายน้อยลง กระดูกเสื่อมผุแลเปราะบาง ตามอายุที่มากขึ้นตลอดจนการสั่งงาน จากสมองและงานของส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ดีเท่าเก่า นอกจากนี้ยังอาจมีโรคของผู้สูงอายุอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นผู้ที่มีอายุแล้วควรตรวจเช็คร่างกาย เป็นประจำอยู่เสมอว่า มีโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการออกกำลังกายหรือไม่การวิ่งเพื่อสุขภาพในผู้สูงอายุนั้นต้องเริ่มจากทีละน้อยๆ อย่าหักโหมวิ่งอย่างช้าๆ สบายๆไปเรื่อย ๆมีจิตใจที่เพลิดเพลิน เบิกบาน อารมณ์ดี ที่สำคัญที่สุด คือ ต้องคอยสังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นเสมอ ทั้งก่อน ขณะวิ่ง และหลังการวิ่งด้วย
การอบอุ่นร่างกายก่อนวิ่งและการผ่อนคลายร่างกายหลังวิ่ง
ก่อนและหลังการวิ่งทุกครั้ง ควรอบอุ่นร่างกายและผ่อนคลายร่างกายประมาณ 4 – 5 นาที โดยวิ่งเหยาะๆ ด้วยความเร็วที่น้อยกว่าที่ใช้ในการวิ่งจริง พร้อมกับทำกายบริหารยืดเหยียดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย
แต่บางครั้งร่างกายอ่อนแอ อาจอดนอนหรือเจ็บไข้ หรือวิ่งในขณะอากาศร้อนจัดและไม่ได้ทดแทนน้ำและเกลือแร่พอเพียง อาจเกิดอาการที่ส่อ “สัญญาณเตือนอันตราย” ขึ้นขณะวิ่งได้ เช่น อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้หรือหน้ามืดเป็นลม รู้สึกคล้ายหายใจไม่ทันหรือหายใจไม่ออก, ใจสั่น, แน่นหรือเจ็บบริเวณหน้าอก ,ลมออกหูหรือหูตึงกว่าปกติ ,ควบคุมการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ได้ ซึ่งถ้าเกิดมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ให้ทำตามลำดับดังนี้
1. ขณะวิ่ง ให้ชะลอความเร็วลง หากอาการหายไปอย่างรวดเร็ว อาจวิ่งต่อไปอีกระยะหนึ่งด้วยความเร็วที่ชะลอไว้แล้วนั้น
2. แต่หากชะลอความเร็วแล้ว ยังมีอาการอยู่อีกให้เปลี่ยนเป็นการเดิน
3. ถ้าเดินแล้วยังมีอาการอยู่ ต้องหยุดนั่งหรือนอนราบจนว่าอาการจะหายไป
4. ซึ่งในวันต่อไปจำเป็นต้องลดความเร็วและระยะทางลง
5. ถ้าอาการที่เป็นสัญญาณเตือนอันตรายไม่หายไปแม้พักแล้วเป็นเวลานาน ต้องรีบปรึกษาแพทย์