
ใส่แล้วใช่ ดูแล้วเท่ห์ เพิ่มความมั่นใจแบบสุดๆ กับ เสื้อทหาร COMBAT SUIT มาตรฐานสากล
ใส่แล้วใช่ ดูแล้วเท่ห์ เพิ่มความมั่นใจแบบสุดๆ กับเสื้อทหาร COMBAT SUIT มาตรฐานสากล
เหนือระดับด้วยเสื้อทหารคุณภาพเยี่ยม ให้คุณดูดีเสมอในทุกสถานการณ์
อีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจกับเสื้อทหารสุดคูล สำหรับผู้ที่ชื่นชอบกิจกรรมผจญภัยกลางแจ้ง Outdoor หรือในกลุ่มของชาว big bike เอาใจผู้ที่ชื่นชอบความเร็วทั้งหลายด้วยเสื้อที่จะทำให้คุณใส่แล้วดูเท่ห์ สง่างาม กับ เสื้อทหาร COMBAT SUIT ความลงตัวที่มาพร้อมคุณสมบัติการกันน้ำที่ยอดเยี่ยม ใส่สบายไร้กังวล รับประกันความพึงพอใจ ดังนี้
• เสื้อทหาร เสื้อ COMBAT SUIT ผ้าตารางกันน้ำ รุ่น 007 – ลายจังเกิ้ล
• เสื้อทหาร เสื้อ COMBAT SUIT ผ้าตารางกันน้ำ รุ่น 007 – ลายดิจิตอล
• เสื้อทหาร เสื้อ COMBAT SUIT ผ้าตารางกันน้ำ รุ่น 007 – ลายมัลติแคม
• เสื้อทหาร เสื้อ COMBAT SUIT ผ้าตารางกันน้ำ รุ่น 007 – ลาย อส.
Size: S, M, L, XL, 2XL รอบอก 43, 45, 47, 49, 51 นิ้ว
คุณสมบัติพิเศษ
• เสื้อบริเวณลำตัวเป็นผ้ายืดใส่สบาย
ผ้ายืด หรือ SPANDEX เป็นผ้าชนิดหนึ่งผลิตโดยนำเส้นใยสังเคราะห์ผสมกับเส้นใยผ้าชนิดต่างๆ ทำให้ได้ผ้าที่มีลักษณะยืดหยุ่นได้ดี SPANDEX หรือ ผ้ายืด ได้รับความนิยมนำมาใช้ในการผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม เช่น เสื้อ กางเกง ชุดว่ายนํ้า ชุดกีฬา และชุดใช้ในการแสดงต่างๆ ด้วยคุณลักษณะพิเศษ SPANDEX หรือ ผ้ายืด ซึ่งมีความยืดหยุ่นทำให้เมื่อสวมใส่จะมีความกระชับตัว ผู้สวมใส่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วคล่องตัว
• บริเวณแขนเป็นผ้าลายตาราง ripstop
เมื่อพูดถึง Ripstop ก็คือผ้าไนลอนที่นำมาถักทอเป็นตารางเล็กๆหรือเรียกว่า Ripstop แปลตรงตัวว่า หยุดการฉีก มีคุณสมบัติทนต่อการฉีกขาด หรือ หากขาดจะขาดเพียงจุดเล็กๆไม่ฉีกไปบริเวณอื่น ด้วยการถักทอแบบ Ripstop นี้จึงทำให้ผ้าที่ได้มีน้ำหนักเบาผ้า และเป็นที่นิยมนำมาใช้ในทางการทหาร และ การผจญภัย outdoor ต่างๆ เพราะนอกจากความเหนียวทนทานและยังมีคุณสมบัติในการกันน้ำ100%อีกด้วย
• แขนมีกระเป๋าซิบ ติดอาร์ม path ได้
• มีระบบ Waterproof sleeves บริเวณแขนเสื้อ สามารถกันน้ำได้ 100 %
คุณสมบัติเพิ่มเติมของ Waterproof
Waterproof ความหมายคือ การกันน้ำซึม, กันน้ำได้ หากเห็นรายละเอียดนี้บนสินค้าคุณสามารถมั่นใจได้เลยว่ากันน้ำได้ดีเลย 100% และมักจะมากับข้อมูลจำเพาะว่ากันน้ำลึกกี่เมตร เป็นเวลานานเท่าไร ยิ่งสวมใส่ฝ่าสายฝนเป็นเวลานานก็ไม่ต้องกังวลเพราะน้ำฝนจะไม่ทำให้เสื้อตัวเก่งของคุณเปียกอย่างแน่นอน
สาระน่ารู้เกี่ยวกับผ้าไนลอน
ไนลอน nylon มีคุณสมบัติที่ดี เหมาะสำหรับให้ทำเสื้อผ้ากางเกงหลายชนิดใช้ได้ทนทานไม่ขาดง่าย มักใช้ผสมกับเส้นใยชนิดอื่นๆ เพื่อให้เกิดคุณสมบัติที่ดีมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านคงขนาดและรูปร่าง ทนต่อการขัดสี ถ้าต้องการนำมาตัดเสื้อผ้า ควรเลือกเนื้อผ้าที่ทอถักเนื้อหลวมไม่แน่นมากนัก เพื่อให้มีการระเหยอากาศและความชื้นจากร่างกายได้สะดวก ผ้าไนลอนเป็นผ้าที่ใช้ได้ทนทาน มีการยืดหยุ่นรักษารูปร่างได้ดี เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก สำหรับการดูแลรักษาทำความสะอาด สามารถใช้ได้กับสบู่ ผงซักฟอก สารฟอกขาว ซักด้วยวิธีการซักเปียกแบบธรรมดา แต่ไม่ควรตากผ้าไนลอนกับแสงแดดนาน ๆ เพราะสีจะซีดง่ายและเสื้อผ้าจะลดความแข็งแรงลง
ความเป็นมาของเส้นใยไนลอน
ผู้ค้นพบวิธีในการผลิตเส้นใยไนลอน คือ Wallac H. Carothers ในปี ค.ศ. 1928 เป็นอาจารย์ผู้เคยสอน อยู่ที่มหาวิทยาลัย Harvard เป็นผู้ที่มีความสนใจทฤษฎีโพลิเมอร์ที่มีโมเลกุลต่อกันเป็นโซ่ยาว โดยพบว่าสารประกอบระหว่างกรดไดเบสิดเเละโพลีไฮดริกแอลกอฮอล์ เมื่อได้รับความร้อนจะรวมตัวกันเข้าเป็นโพลีเอสเตอร์ (Polyester) มีโมเลกุลใหญ่ยึดเกี่ยวกันเป็นเส้นใยได้ แต่เส้นใยที่ค้นพบนั้นยังไม่อยู่ในสภาพที่จะใช้กันเป็นเส้นใยผ้าได้ จึงมีการปรับปรุงจนสามารถผลิตเป็นสิ่งทอในปี ค.ศ. 1939
ข้อสรุปที่มาของลายทหาร
ชุดลายพรางของทหาร (Military Camouflage) ได้รับแนวคิดมาจากบรรดาสัตว์เลื้อยคลานหลายชนิด ที่สามารถเปลี่ยนสีตัวเองให้กลืนไปกับสภาพแวดล้อม (camouflage) มนุษย์จึงนำเอาหลักการนี้มาใช้ในยุทธวิธีการรบทางการทหารตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 มาแล้ว และในปัจจุบันได้พัฒนาเป็นลายพรางแบบดิจิตอล ซึ่งมีคุณสมบัติในการพรางตัวจากเครื่องมือตรวจจับสมัยใหม่ได้ดี
สำหรับลายทหารในประเทศไทยมีโครงการวิจัยผ้าสีพรางมีขั้นตอนสำคัญโดยสรุป คือ เริ่มจากการถ่ายภาพภูมิประเทศที่กำลังพลต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่จริงในทุกภาคของประเทศไทย แล้วนำมาหาปริมาณค่าเฉลี่ยของสีด้วยคอมพิวเตอร์ โดยหนึ่งเนื้อสีที่ได้จะถูกแบ่งออกเป็นค่าสีสำหรับใช้ในการพิมพ์ที่เกิดจากการผสมสี 4 สี คือ C (Cyan:สีฟ้าเขียว) M (Magenta: สีแดงม่วง) Y (Yellow: สีเหลือง) และ B (Black:สีดำ) หลังจากได้ค่าเฉลี่ยของสีเรียบร้อยแล้วก็จะนำภาพของแต่ละแห่งมาทับซ้อนกันแล้วตัดต่อให้เป็นภาพเดียวกันด้วย Program Illustrator เพื่อให้ได้ภาพลายพราง ซึ่งหากเป็นการจัดทำลายพรางปกติก็ถือว่าเสร็จสมบูรณ์ในขั้นตอนนี้ แต่สำหรับลายพรางดิจิตอลจะต้องนำภาพที่ได้ไปปรับแต่งให้ออกมาเป็นลวดลายลักษณะBitmap (เป็นรูปสี่เหลี่ยม เรียกว่า Pixel ประกอบกันขึ้นเป็นรูปภาพ)ภาพลายพรางที่ได้จากการปรับแต่ง คือ ลายพรางดิจิตอล แล้วกระบวนการต่อไปคือ การนำลายพรางดิจิตอลที่ได้ไปผลิตเป็นผ้าตัวอย่างหรือภาพตัวอย่าง เพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติการพรางตัว ว่าลวดลายและสีมีความกลมกลืนกับภูมิประเทศมากน้อยเพียงใด โดยทำการทดสอบทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนที่ระยะต่างๆ คือ 10 เมตร, 50 เมตร, 100 เมตร, 200 เมตร และ 400 เมตร อันเป็นระยะตรวจการณ์ ระยะความสามารถในการยิงและทำลายด้วยอาวุธสังหารบุคคลระยะความสามารถของเครื่องมือตรวจจับบุคคล (รังสี Infrared) เมื่อผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจแล้วก็จะผลิตผ้าลายพรางดิจิตอลขึ้นเพื่อตัดเย็บเป็นเครื่องแบบให้เหล่าทหารและนำมานั้นมาปรับใช้กับเสื้อยุทธวิธีต่อไป