วิ่งด้วยกันวันละนิด จิตแจ่มใส ใจแข็งแรง
Categories:
บทความน่ารู้, รวมบทความ
วิ่งด้วยกันวันละนิด จิตแจ่มใส ใจแข็งแรง sportlifeonline พร้อมเคียงข้างคุณในการวิ่งเสมอ
วิ่งด้วยกันวันละนิด จิตแจ่มใส ใจแข็งแรง เราต้องยอมรับว่าประโยชน์ของการวิ่งนั้นมีผลดีต่อสุขภาพมากมายและมีผลดีต่อหัวใจมากกว่าการเดินด้วย ซึ่งสำหรับผู้ที่จะเริ่มต้นการวิ่งนั้น ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าหากคุณคิดจะออกกำลังกายโดยการวิ่งไม่ว่าคุณจะมีอายุเท่าใดให้ปรึกษาแพทย์ก่อน โดยเฉพาะผู้ที่มีทีมีปัญหาเรื่องสุขภาพหลังและเท้า โดยหลังจากที่แพทย์ประเมินสภาพว่าสามารถวิ่งออกกำลังกายได้ ท่านอาจจะเริ่มต้นโดยการเดินให้มากขึ้นหรือใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์หรือบันไดเลื่อนหลังจากนั้นจึงเริ่มต้นการออกกำลังกายโดยการเดินเร็วและขยับไปสู่การวิ่งในระยะต่างๆได้
สาระเพิ่มเติม เรื่องการพักผ่อนให้เพียงพอต่อการวิ่ง
การให้ร่างกายได้พักผ่อนนั้นมีความสำคัญเท่าเทียมกับการบริหารร่างกาย เพราะถ้าหากคุณไม่ให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็เป็นที่แน่นอนว่าคุณจะต้องพบเจอกับความเหนื่อยล้า ประสิทธิภาพการออกกำลังที่ลดลง และพลอยจะท้อเอาได้ง่ายๆ จนในที่สุดคุณก็อาจพบเจอกับอาการบาดเจ็บ มีผู้วิ่งหลายๆ คนเคยฝ่าฝืนกฎเหล็กข้อนี้แล้วก็ต้องมาเสียใจภายหลัง สิ่งที่ขอแนะนำคือ ใช้การวิ่งวันเว้นวัน โดยวันที่ไม่ได้วิ่งก็เปลี่ยนไปออกกำลังกายเบาๆ เพื่อส่งเสริมกล้ามเนื้ออย่างเช่นยกเวท หรือจะเป็นการทำโยคะเพื่อกระชับสัดส่วนก็ได้ ส่วนคนที่อยากลดน้ำหนักแบบจัดเต็มด้วยการบริหารร่างกายทุกวันก็ควรจะให้มีอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ที่เป็นวันพักผ่อนอย่างเต็มที่ เพื่อไม่ให้ร่างกายทำงานหนักเกินไปประเภทของการวิ่ง
การวิ่งระยะสั้น
เป็นการวิ่งแข่งขันระยะทาง ตั้งแต่ 50 เมตร 60 เมตร 80 เมตร 100 เมตร 200 เมตร จนถึง 400 เมตรทักษะที่สำคัญของการวิ่งระยะสั้น คือ การตั้งต้นการวิ่ง การวิ่ง และการเข้าเส้นชัย ที่ยันเท้าเป็นอุปกรณ์สำคัญของนักกรีฑาวิ่งระยะสั้น เริ่มมีการใช้มาตั้งแต่เริ่มมีการใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.2470 เพราะทำให้สะดวกและเป็นผลดีต่อการวิ่ง สามารถปรับได้ระดับกับนักกรีฑาแต่ละคนและไม่ทำให้สนามเสีย การออมกำลังในการวิ่งก็เป็นสิ่งจำเป็นของนักกรีฑาวิ่งในระยะตั้งแต่ 200 เมตรขึ้นไป เพราะนักวิ่งไม่สามารถวิ่งได้เร็วสม่ำเสมอตลอดระยะทาง เพราะขีดความสามารถและความเหนื่อยเป็นอุปสรรค จึงต้องซ้อมรักษาความเร็วในช่วงกลางของระยะวิ่งให้คงที่ โดยใช้พลังงานน้อยที่สุดและไปเร่งเมื่อใกล้ถึงเส้นชัยอีกครั้งนักกีฬาต้องรู้และมีประสบการณ์ด้วยตนเองว่าควรหายใจด้วยวิธีใดจึงจะให้เกิดผลดีที่สุดและมีอากาศเพียงพอตลอดระยะทางการวิ่ง นักกรีฑาต้องวิ่งในช่องวิ่งเฉพาะตัวตลอดระยะทาง คุณสมบัติของนักกรีฑาวิ่งระยะสั้น กล้ามเนื้อขาแข็งแรง มีความเร็วในการเคลื่อนที่ มีความสามารถในการก้าวเท้าได้ยาวและเร็วในการตั้งต้นการวิ่งการวิ่งระยะกลาง
เป็นการวิ่งระยะ 8 00 เมตร และ 1,500 เมตร การวิ่งระยะกลาง ต้องอาศัยฝีเท้าการวิ่งแบบระยะสั้น ใช้ความเร็วและความทนทานแบบการวิ่งระยะไกล นักกีฬาวิ่งระยะสั้นจึงสามารถเปลี่ยนมาวิ่งระยะกลางได้ไม่ยาก เพียงแต่ฝึกความทนทานให้มากขึ้นและเช่นเดียวกัน นักกีฬาวิ่งระยะไกลก็สามารถเปลี่ยนมาวิ่งระยะกลางได้ โดยฝึกความเร็วเพิ่มขึ้นเท่านั้น ซึ่งสิ่งสำคัญที่สุด คือ นักกีฬาระยะกลางต้องรู้ว่าตนเอง ต้องใช้กำลังอย่างไรตลอดระยะทางการวิ่ง จังหวะการก้าวขาพร้อมความสัมพันธ์ของการแกว่งแขนและการก้าวเท้าการวิ่งระยะไกล
เป็นการวิ่งระยะทางตั้งแต่ 3,000 เมตรขึ้นไป ลักษณะของนักกีฬาวิ่งระยะไกล มีรูปร่างค่อนข้างสูง น้ำหนักปานกลาง กล้ามเนื้อหัวใจมีความแข็งแรง สิ่งสำคัญในการวิ่งระยะไกลคือ จังหวะในการวิ่ง จังหวะในการก้าวขาและการแกว่งแขนที่จะใช้กำลังให้น้อยที่สุดการก้าววิ่งเต็ม ฝีเท้าช่วงก้าวยาวสม่ำเสมอรักษาช่วงก้าว ให้เท้าสัมผัสพื้นในลักษณะลงด้วยส้นเท้าผ่อนลงสู่ปลายเท้าลำตัวตั้งมากกว่าการวิ่งระยะอื่น
การหายใจขณะวิ่ง
จังหวะการหายใจควรเป็นไปตามธรรมชาติ อย่าฝืนหรือชะลอจังหวะการหายใจ ขณะวิ่งควรหายใจทั้งเข้าและออก ทางจมูก ต่อเมื่อรู้สึกว่าหายใจไม่พอ จึงหายใจเข้าทางจมูกแล้วปล่อยลมออกทั้งทางจมูกและปากพร้อมกัน แต่ถ้าเหนื่อย มากๆ ก็ใช้การหายใจ ทางปากช่วยเป็นช่วงๆ และควรผ่อนความเร็วลง ตามปกติแล้วเมื่อวิ่งไประยะหนึ่ง จังหวะการหายใจ จะปรับตัวเองให้เข้ากับจังหวะ การวิ่งซึ่งจะเป็นช่วงที่เรารู้สึกว่าวิ่งสบาย ลำตัวและศีรษะ ควรตั้งตรงเพื่อลดอาการปวดหลังและลดแรงเครียดที่เกิดในกล้ามเนื้อขาการแกว่งแขน งอข้อศอกเล็กน้อย กำมือหลวมๆ และแกว่งแขนไปข้างหน้าต่ำๆ ข้างลำตัวในลักษณะสบาย ไม่เกร็ง เป็นจังหวะที่สัมพันธ์ กับการก้าวเท้า คือแกว่างแขนซ้าย ไปข้างหน้าขณะก้าวเท้าขวา ข้อศอกงอเล็กน้อย กำมือหลวมๆการลงเท้า มี 3 วิธี คือ
1. ลงส้นเท้าก่อนปลายเท้า เป็นท่าที่เหมาะสำหรับนักวิ่งเพื่อสุขภาพอย่างเราๆ ท่านๆ โดยส้นเท้าจะสัมผัสพื้นก่อนแล้วทั้งฝ่าเท้าจะตามมาและเมื่อปลายเท้าลงมา แตะพื้นก็เป็นจังหวะที่ส้นเท้ายกขึ้น เข่าไม่ยกสูงมากและไม่เหยียดสุด ปลายเท้าจะดันตัวไปข้างหน้า 2. ลงเต็มฝ่าเท้า ฝ่าเท้าจะสัมผัสพื้นพร้อมกันแล้วจึงใช้ปลายเท้าดันต่อไปข้างหน้าซึ่งท่านี้ จะสามารถลดแรงกระแทกของเท้าขณะลงพื้น ได้ดีแต่เป็นท่า ที่เมื่อยมากถ้าวิ่งไปไกลๆ 3. ลงปลายเท้า เหมาะสำหรับการวิ่งเพื่อแข่งขันโดยจะลงพื้นด้วยปลายเท้าซึ่งทำให้มีพลังและ ความเร็วเพิ่มขึ้นมากแตะเพิ่มแรงเครียด ให้กล้ามเนื้อ น่องตึง และเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ ถ้าวิ่งไกลๆ
พร้อมวิ่งทุกเมื่อ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณ
Sportlifeonline พร้อมเสมอ เมื่อคุณต้องการอุปกรณ์การวิ่งที่มีประสิทธิภาพ
พร้อมวิ่งทุกเมื่อ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณ ในการวิ่งออกกำลังกาย หรือการวิ่งในระยะไกลๆนั้น เราจะต้องรู้จักเทคนิคการวิ่งบ้างรวมไปถึงเทคนิคการหายใจอย่างถูกวิธีในขณะวิ่งด้วย เพราะจะช่วยให้นักวิ่งสามารถวิ่งได้เร็วขึ้น เเละวิ่งได้นานขึ้น ซึ่งนอกเหนือจากการเตรียมอุปกรณ์ต่างๆแล้วก็จะทำให้คุณพร้อมเสมอสำหรับการวิ่งที่นี้ก็จะเริ่มวิ่งได้ง่ายขึ้นและทำให้การวิ่งแต่ละครั้งนั้นมีประสิทธิภาพอย่างที่คุณต้องการมากที่สุด สำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัวก็มีโอกาสสร้างความพร้อมในการวิ่งได้เช่นกัน โดยควรไปพบแพทย์ก่อน เพื่อให้แพทย์ประเมินว่าสภาพร่างกายของท่านว่าพร้อมสำหรับการวิ่งมากน้อยแค่ไหนและสามารถวิ่งได้ในระยะทางใกล้หรือไกลเพียงใดด้วย
สาระน่ารู้
เรื่อง การหายใจขณะวิ่ง
การหายใจควรเป็นไปโดยธรรมชาติ คือ หายใจเข้าออกผ่านจมูกแต่ถ้าอยู่ในการช่วงที่ฝึกเพื่อพัฒนาความเร็ว อาจจะมีช่วงที่ฝึกหนักถึง 80-90 % ของอัตราเต้นสูงสุดของหัวใจ อาจจำเป็นต้องหายใจผ่านปากด้วย แต่ถ้าเป็นการวิ่งปกติแล้วถ้าหายใจไม่ค่อยทันแสดงว่าวิ่งเร็วเกินไป ก็คงต้องผ่อนคือลดความเร็วลงการหายใจมี 2 แบบคือ
1. การหายใจด้วย กล้ามเนื้อซี่โครง (Costal หรือ Chest Breathing) คือ เวลาหายใจเข้าหน้าอกจะขยายตัวและหน้าท้องจะยุบ เวลาหายใจออกหน้าอกจะยุบ และหน้าท้องขยายตัวหรือพองออก เวลาวิ่งเร็วๆและวิ่งนานๆจะจุกเสียดชายโครงได้ง่าย 2. การหายใจด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม (Abdominal Breathing) คือ เวลาหายใจเข้ากล้ามเนื้อกระบังลมจะเคลื่อนตัวลงทำให้ลมเข้าไปในปอด หน้าท้องจะพองหรือขยายตัว (พุงป่อง) และ เวลาหายใจออก กล้ามเนื้อกระบังลมจะเคลื่อนตัวขึ้น พุงจะยุบ วิธีการหายใจแบบนี้จะทำให้ไม่จุกเสียดชายโครงถ้าวิ่งนาน ๆสิ่งที่ไม่ควรทำ
1. หายใจไม่เป็นจังหวะ คือการ หายใจเข้า-ออกลึกๆช้าๆผสมกับหายใจเข้า-ออกเร็วถี่ๆสลับกันไปมาขณะวิ่ง ทำให้ใช้เวลาและพลังงานสูดออกซิเจนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายเยอะเกินไป ทำให้ปอดทำงานไม่ทันแล้วก็เหนื่อยหอบในที่สุดเทคนิคการเดินวิ่งอย่างถูกวิธี
1. ศีรษะ ตั้งตรงเป็นแกนเดียวกับลำตัว ไม่เงยหน้าหรือก้มศีรษะ สายตามองไปข้างหน้าระดับ 30 - 40 เมตร จะทำให้กล้ามเนื้อคอ ผ่อนคลาย ไม่เกร็ง 2. ลำตัว ตั้งเป็นเส้นตรง ตั้งแต่ศีรษะลงไปถึงเท้า ไม่งอหรือพับช่วงเอว ทิ้งน้ำหนักตัวและเอนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ลำตัวต้องไม่ส่ายไปมาหรือโยกขึ้นลงในขณะวิ่ง ปล่อยไหล่ลงตามสบายไม่เกร็ง หรือยกไหล่สูง 3. มือและแขน กำมือหลวมๆ เกร็งข้อมือเล็กน้อยเพื่อป้องกันการสะบัดข้อมือไปมา ซึ่งจะทำให้การแกว่งแขนและลำตัวเสียการควบคุม ผิดทิศทาง แขนแกว่งตัดเข้าลำตัวเล็กน้อยขึ้นลงตามจังหวะของการวิ่ง ไม่เกร็งแขนและควรขนานกับทิศทางการวิ่ง ในขณะที่แขนแกว่งขึ้นข้างบน แขนท่อนล่างและข้อมือจะยกขึ้นระดับอกและทำมุมกับแขนท่อนบนประมาณ 70 - 80 องศา เมื่อแกว่งลงข้างล่างข้อมือจะอยู่ที่ระดับเอวเหนือสะโพก และทำมุมกับแขนท่อนบนประมาณ 120 องศา จังหวะการแกว่งแขนให้ไหล่เป็นจุดหมุนและดึงข้อศอกไปข้างหลัง 4. เข่าและเท้า การวางเท้ามีการวางอยู่ 2 แบบทั้งการวางด้วยส้นเท้าและเท้าด้านหน้า สำหรับนักวิ่งมือใหม่ เริ่มแรกควรวางอย่างเป็นธรรมชาติของตัวเองก่อน ดัดปลายเท้าให้เป็นเส้นตรงตามทางวิ่ง ไม่เฉเข้าหรือเฉออกนอกลำตัว ไม่จิกลงด้วยปลายเท้าบริเวณนิ้วเท้าเหมือนเขย่งหรือวิ่งระยะสั้น เข่าหน้าไม่ควรเหยียดตรง ให้งอเข่าลงเล็กน้อย ส้นเท้าหลังปล่อยยกขึ้นหาสะโพกสบายๆไม่ฝืนเกร็ง เมื่อเท้าหน้าวางพื้นให้ถ่ายน้ำหนักตัวไปข้างหน้า แล้วสลับเท้าขึ้นทันที นักวิ่งหน้าใหม่ควรฝึกสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับกับท่าทางการวิ่งที่จะปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมต่อไป
ข้อควรระวังในช่วงการวิ่งมีอยู่ 3 ประเด็นคือ
1.ควรตั้งใจวิ่งต่อไปให้สม่ำเสมอ อย่าวิ่ง ๆ หยุด ๆ 2.อย่าใจร้อนอยากวิ่งให้เร็วขึ้นหรือวิ่งให้มากขึ้นให้ค่อยเป็นค่อยไป 3.อย่าละเลยการยืดเส้นยืดสายบริหารร่างกายก่อนและหลังการวิ่ง สำหรับผู้ที่รักการวิ่งแล้วจะผันตัวไปเป็นนักวิ่งอาชีพในระยะทางไกลๆ เรามีสาระความรู้ที่น่าสนใจมากฝากเกี่ยวกับประเภทของการวิ่งมาราธอน ที่จะเป็นประโยชน์ต่อท่านอย่างแน่นอนประเภทของการวิ่งมาราธอน
• ฟันรัน (Fun run) หรือที่เรียกกันว่า เดิน วิ่งเพื่อการกุศล ระยะทาง 3.5 - 5 กิโลเมตร เหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มต้นออกกำลังกายใหม่ ๆ • มินิฮาล์ฟ มาราธอน (Mini half marathon) ระยะทาง 10.5 กิโลเมตร เป็นระยะทางที่นักวิ่งเพื่อสุขภาพนิยมกันมาก เพราะระยะทางไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป เหมาะสำหรับการออกกำลังกาย • ฮาล์ฟ มาราธอน (Half marathon) ระยะทาง 21.1 กิโลเมตร เป็นอีกระยะทางหนึ่งที่นักวิ่งที่เคยผ่านการวิ่งหลายๆ สนามชื่นชอบ ซึ่งผู้วิ่งควรผ่านการฝึกซ้อมมาพอสมควร เพื่อป้องกันการบาดเจ็บ • มาราธอน (Marathon) ระยะทาง 42.195 กิโลเมตร เป็นระยะทางมาตรฐานที่จัดแข่งขันระดับนานาชาติทั่วโลก ซึ่งนักวิ่งระยะนี้ก็จะมีทั้งนักวิ่งสมัครเล่น และนักวิ่งอาชีพ ผู้วิ่งควรฝึกฝนเตรียมความพร้อมให้ดีและควรผ่านการตรวจสุขภาพมาก่อน • อัลตร้า มาราธอน (Ultra marathon) ระยะทางมากกว่า 42.195 กิโลเมตร นักวิ่งส่วนใหญ่เป็นผู้แข็งแกร่งผ่านสนามวิ่งมาอย่างโชกโชน
Sportlifeonline ใส่ใจรองเท้าวิ่งทุกคู่ คัดสรรสิ่งที่ดีที่สุดมาสู่คุณ เพราะรองเท้าคือสิ่งสำคัญสำหรับผู้รักการวิ่งทุกคน
เพราะการวิ่งนั้นถือเป็นการออกกำลังที่ดีต่อสุขภาพ การวิ่ง อย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยควบคุมน้ำหนักและเสริมสร้างบุคลิกภาพของผู้วิ่งให้แข็งแรงสง่างาม เรียกได้ว่าการวิ่งนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายแทบทุกส่วนรวมไปถึงในเรื่องของจิตใจด้วย คนยุคใหม่จึงหันมาใส่ใจสุขภาพด้วยการวิ่งกันมากขึ้น และแน่นอนว่าจะวิ่งทั้งทีก็ต้องวิ่งให้ถูกวิธีรวมถึงเลือกรองเท้าวิ่งที่มี่คุณสมบัติในการถนอมเท้าและช่วยเสริมการวิ่งของเราด้วย ซึ่งทาง Sportlifeonline เรามีข้อมูลดีๆมาฝากทุกท่านในเรื่องลักษณะของรองเท้าวิ่งที่ดีรวมไปถึงเคล็บลับข้อแนะนำที่จะทำให้การวิ่งของคุณได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้นด้วย
รองเท้าวิ่งที่ดี สำหรับการวิ่งเพื่อสุขภาพ
- สำหรับรองเท้าวิ่งที่ดีนั้นด้านข้างของบริเวณหุ้มส้นทั้งสองด้าน จะต้องแข็งแรงพอที่จะปกป้องการบิดหมุนของส้นเท้าเพื่อให้เกิดความมั่นคงเวลาวิ่ง - บริเวณส่วนบนของหุ้มส้นควรเว้นตรงกลางเพื่อป้องกันไม่ให้กดเอ็นร้อยหวาย - ด้านหน้าของรองเท้า ตรงบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า จะต้องนูนสูงขึ้นอย่างน้อย 1/2 นิ้ว เพื่อป้องกันไม่ให้นิ้วและเล็บหัวแม่เท้าถูกกดเบียดไม่เช่นนั้นอาจทำให้เลือดออกใต้เล็บได้ - ลิ้นรองเท้าต้องบุให้นุ่มและปิดส่วนบนฝ่าเท้าได้หมด เพื่อป้องกันการเสียดสีและระคายเคืองของนิ้วเท้า - เชือกผูกรองเท้าไม่ควรยาวจนเกินไป เวลารัดไม่ควรแน่นหรือหลวมจนเกินไป - บริเวณส้นรองเท้าจะต้องฝานให้เป็นรูปมน เพื่อช่วยให้การลงของเท้าเป็นไปได้สะดวกและเร็วขึ้น ที่ส้นเท้าจะต้องมีลิ้นที่นุ่มพอสมควร เสริมในส้นเพื่อช่วยกลืนแรงขณะส้นเท้ากระแทกกับพื้น - แกนยาวของรองเท้าอาจเป็นสันตรงหรือหักโค้งเล็กน้อย - พื้นรองเท้าบริเวณกึ่งกลางจะต้องหักงอได้ เพื่อช่วยรองรับอุ้งเท้า - พื้นรองเท้าจะต้องมีปุ่มสตั๊คหรือดอกยาง เพื่อไม่ให้ลื่นและกลืนแรงสะท้อน - พื้นภายในรองเท้าตรงบริเวณอุ้งเท้า ต้องเสริมให้นูนสูง ให้เข้ารูปพอดีกับอุ้งเท้า เพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บบริเวณส้นเท้าและการอักเสบของพังผืดกระดูกฝ่าเท้าสาระน่ารู้เรื่องการวิ่ง
- ท่าวิ่งที่ถูกต้อง ไม่ควรวิ่งลงปลายเท้า เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าแข้ง กล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ง่าย เวลาวิ่งควรใช้แรงจากกล้ามเนื้อโคนขา มากกว่าที่ปลายเท้าเพราะเป็นกล้ามเนื้อใหญ่ที่แข็งแรงและมีพลังมาก - การวิ่งระยะยาวอาจทำให้กล้ามเนื้อปวดเมื่อยได้ควรวิ่งแบบนี้อาทิตย์ละครั้ง เนื่องจากกล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากไกลโคเจนในการออกกำลังกาย ถ้าเราใช้ไกลโคเจนหมดกล้ามเนื้อจะเริ่มสะสมใหม่ ซึ่งจะเก็บสะสมไว้มากกว่าคราวที่ผ่านมาหมายความว่าคราวหน้าเราจะวิ่งได้ไกลขึ้น จะเป็นอย่างนี้ขึ้นไปเรื่อยๆซึ่งการวิ่งจนปวดกล้ามเนื้อแบบสุดๆ คืออาการของไกลโคเจนหมดนั่นเอง - ส่วนการวิ่งเร็วควรวิ่งอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เพราะจะทำให้ร่างกายทำงานหนักและได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ - เวลาวิ่งให้หายใจโดยใช้กระบังลมเพราะการหายใจที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน คือการหายใจตื้นและสั้นซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการวิ่ง ดังนั้นจึงต้องใช้กระบังลมเข้าช่วยเพื่อให้มีการหายใจที่ลึกและยาว เราสามารถฝึกหายใจโดยใช้กระบังลมได้โดยนอนหงายเอาหนังสือวางไว้บนหน้าท้องแล้วสังเกตว่า ถ้าหนังสือขยับขึ้นก่อนสูดลมหายใจเข้าลดลงตอนหายใจออก เป็นอันว่าใช้ได้และควรยืดกล้ามเนื้อโดยให้ยืดวันละ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการคลายกล้ามเนื้อและลดอาการบาดเจ็บขณะวิ่ง
การลงเท้า มี 3 วิธี คือ
1. ลงส้นเท้าก่อนปลายเท้า เป็นท่าที่เหมาะสำหรับนักวิ่งเพื่อสุขภาพ โดยส้นเท้าจะสัมผัสพื้น ก่อนแล้วทั้งฝ่าเท้าจะตามมาและเมื่อปลายเท้าลงมาแตะพื้นก็เป็นจังหวะที่ส้นเท้า ยกขึ้น เข่าไม่ยกสูงมากและไม่เหยียดสุดปลายเท้าจะดันตัวไปข้างหน้า 2. ลงเต็มฝ่าเท้า ฝ่าเท้าจะสัมผัสพื้นพร้อมกันแล้วจึงใช้ปลายเท้าดันต่อไปข้างหน้าซึ่งท่านี้จะสามารถ ลดแรงกระแทกของเท้าขณะลงพื้นได้ดีแต่เป็นท่าที่เมื่อยมากถ้าวิ่งไปไกลๆ 3. ลงปลายเท้า เหมาะสำหรับการวิ่งเพื่อแข่งขันโดยจะลงพื้นด้วยปลายเท้าซึ่งทำให้มีพลังและความ เร็วเพิ่มขึ้นมากแตะเพิ่มแรงเครียด ให้กล้ามเนื้อน่องตึงและเอ็นร้อยหวายอักเสบได้ ถ้าวิ่งไกลๆการแกว่งแขน
ส่วนลำตัวและศีรษะควรตั้งตรงเพื่อลดอาการปวดหลังและลดแรงเครียดที่เกิดใน กล้ามเนื้อขา แกว่งแขนเล็กน้อยโดย งอข้อศอกเล็กน้อย กำมือหลวมๆ และแกว่งแขนไปข้างหน้าต่ำๆ ข้างลำตัวในลักษณะสบาย ไม่เกร็ง เป็นจังหวะที่สัมพันธ์กับการก้าวเท้า คือแกว่งแขนซ้ายไปข้างหน้าขณะก้าวเท้าขวา ข้อศอกงอเล็กน้อยกำมือหลวมๆการหายใจขณะวิ่ง
จังหวะการหายใจควรเป็นไปตามธรรมชาติ อย่าฝืนหรือชะลอจังหวะการหายใจ ขณะวิ่งควรหายใจทั้งเข้าและออก ทางจมูก ต่อเมื่อรู้สึกว่าหายใจไม่พอ จึงหายใจ เข้าทางจมูกแล้วปล่อยลมออกทั้งทางจมูกและปากพร้อมกัน แต่ถ้าเหนื่อย มากๆ ก็ใช้การหายใจ ทางปากช่วยเป็นช่วงๆ และควรผ่อนความเร็วลง ตามปกติแล้ว เมื่อวิ่งไประยะหนึ่ง จังหวะการหายใจ จะปรับตัวเองให้เข้ากับจังหวะ การวิ่งซึ่งจะ เป็นช่วงที่เรารู้สึกว่าวิ่งสบาย