วิถียุคใหม่ของคนรักสุขภาพ เติมเต็มความแข็งแรงของร่างกาย ด้วยการวิ่งและการออกกำลังกายที่หลากหลาย
Categories:
บทความน่ารู้, รวมบทความ
วิถียุคใหม่ของคนรักสุขภาพ เติมเต็มความแข็งแรงของร่างกาย ด้วยการวิ่งและการออกกำลังกายที่หลากหลาย
วิถียุคใหม่ของคนรักสุขภาพ เติมเต็มความแข็งแรงของร่างกาย ด้วยการวิ่งและการออกกำลังกายที่หลากหลาย เมื่อคุณได้ออกกำลังกายด้วยการวิ่งเป็นประจำทุกวันแล้ว แน่นอนว่าคุณจะรู้สึกสนุกไปกับการได้ออกกำลังกายประเภทนี้ ได้พบเจอเพื่อนร่วมทางคนใหม่ๆในหลายๆเส้นทางสถานที่วิ่ง อีกทั้งสัดส่วนความแข็งแรงของร่างกายก็กระชับเข้าที่อย่างที่คุณสังเกตผลลัพธ์ได้ด้วยตัวคุณเอง ข้อแนะนำเพิ่มเติมคือ เมื่อร่างกายคุณปรับสภาพการการวิ่งทีทำอยู่เป็นประจำได้แล้ว ก็ควรปรับเปลี่ยนการออกกำลังกายให้หลากหลายมากขึ้นเพื่อไม่ให้จำเจ ส่วนท่านใดที่ยังไม่ได้เริ่มวิ่งและต้องการวิ่งคุณต้องอาศัยความพยายามที่จะผลักดันตัวเองให้ทำได้มากกว่าขีดจำกัดของคุณเอง
สาระน่ารู้เพิ่มเติม เรื่องความหลากหลายในการออกกำลังกาย
• การวิ่งบนลู่วิ่ง เป็นการฝึกร่างกายให้เพิ่มก้าวในการวิ่งได้อย่างดี เพราะสายพานจะหมุนไปเรื่อยอย่างสม่ำเสมอ ทำให้จังหวะการก้าวเร็วขึ้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลองตั้งความเร็ว ให้เร็วกว่าความเร็วปรกติที่คุณทำได้ เพื่อที่คุณจะได้ผลักดันตัวเองให้วิ่งเร็วขึ้น การทำแบบนี้จะเป็นการฝึกกล้ามเนื้อขา ให้ชินกับการวิ่งเร็ว • ลองเข้าคลาสปั่นจักรยาน (Spinning class) การปั่นจักรยาน จะช่วยให้สะโพกเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้นเวลาวิ่ง นอกจากนี้ยังช่วยทำให้คุณฟิตมากขึ้น ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีในการออกกำลังกาย ที่นอกเหนือจากการวิ่ง • ลองกระโดดเชือก การกระโดดเชือกช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหัวใจ ช่วยลดน้ำหนัก และช่วยให้ความสัมพันธ์ของร่างกายดีขึ้น เพราะขณะกระโดดเชือก ร่างกายจะต้องรับน้ำหนักตัวไว้ ส่วนขาก็จะรับการกระแทก เพียงแค่เพิ่มการกระโดดเชือกสัปดาห์ละ 30 นาที ลงไปในตารางของคุณ ร่างกายของคุณก็จะถูกเตรียมพร้อมสำหรับการวิ่งและยังช่วยให้ก้าวเร็วขึ้นด้วย • ลองเล่นโยคะ หากต้องการออกกำลังกายแบบเบาๆ การเข้าคลาสโยคะสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง ก็สามารถช่วยในการวิ่งได้เช่นกัน เพราะโยคะช่วยในการฝึกฝนความยืดหยุ่นของร่างกาย ซึ่งช่วยในการปรับปรุงท่าในการวิ่ง และลดระยะเวลาการฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ เหมาะมากสำหรับนักวิ่งที่ฝึกซ้อมหนักเพื่อเพิ่มความเร็ว
เทคนิคการวิ่งที่ทำให้การวิ่งของคุณดียิ่งขึ้น
• ปรับท่าวิ่ง หากวิ่งในท่าที่ถูกต้อง ร่างกายจะเคลื่อนไหวอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยให้วิ่งได้เร็วขึ้น พร้อมทั้งช่วยลดการบาดเจ็บ ท่าวิ่งที่ถูกต้องควรเป็นท่าที่เป็นธรรมชาติ สบายๆและไม่ควรรู้สึกเกร็งหรือตึงลองใช้เคล็ดลับเหล่านี้ในการช่วยปรับท่าวิ่งซึ่งจะช่วยให้คุณมีท่าวิ่งที่ถูกต้อง • อย่าวิ่งก้มหน้า พยายามให้สายตามองไปข้างหน้าตลอดหลีกเลี่ยงการก้มมองรองเท้า หรือเชิดหน้า ซึ่งทำให้คอ และหลังไม่เป็นเส้นเดียวกัน • ตั้งแขนให้ได้ 90 องศา และแกว่งไปข้างหน้า และหลังอย่างสบายๆ เพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไปข้างหน้า อย่ากำมือจนแน่น หุบไหล่ หรือแม้แต่เอาแขนแนบลำตัวชิดเกินไป ถ้ารู้สึกว่าตัวเองทำอย่างใดอย่างหนึ่งในนี้ ให้ลองสะบัดแขนไปข้างๆ เพื่อลดอาการเกร็ง และวิ่งในท่าที่ถูกต้องต่อไป • เอวควรตั้งตรง ไม่งอ และอยู่ในระนาบเดียวกับลำตัวและหัวไหล่ • ตำแหน่งของขาอาจต่างกันไปสำหรับสไตล์ของนักวิ่งแต่ละคน นักวิ่งเร็วจะต้องยกขาสูงเพื่อให้วิ่งได้เร็วที่สุด แต่สำหรับนักวิ่งทั่วๆไป รวมถึงคุณด้วย อาจจะไม่จำเป็นต้องยกขาสูง เพื่อให้วิ่งได้เร็วขึ้น แต่ควรก้าวสั้นๆ และยกขาให้น้อยที่สุดโดยเท้าควรจะวางลงใต้ลำตัวพอดี • ขณะเท้าสัมผัสพื้น เข่าควรจะอยู่นิ่งพอสมควรเพื่อที่ขาจะได้งอได้ตามธรรมชาติ • ในการลงเท้า ควรลงน้ำหนักที่ส้น และกลางเท้า ก่อนที่จะถ่ายน้ำหนักไปที่นิ้วเท้าเพื่อให้มีแรงก้าวต่อไป นักวิ่งดีๆที่วิ่งได้เร็ว จะมีเท้าที่ยืดหยุ่นและเคลื่อนไหวได้เร็ว • ลองไปวิ่งในพื้นที่ๆมีสภาพเป็นเขา สามารถช่วยในการเพิ่มความเร็วได้ในที่สุด ดังนั้นจึงควรเพิ่มการวิ่งในพื้นที่ๆไม่ราบเรียบเข้าไปในตารางด้วย การวิ่งในที่ชันอาจจะดูยากในตอนแรก แต่หลังจากที่ชินแล้ว คุณจะพบว่ามันง่ายกว่าการวิ่งในพื้นเรียบมาก และคุณจะวิ่งได้เร็วขึ้นด้วย • การวิ่งขึ้นเขาดีสำหรับร่างกายด้วย เนื่องจากเป็นการเพิ่มความรุนแรงในการวิ่ง แต่จำกัดน้ำหนักที่ลงไปที่ข้อต่อได้มากกว่าการวิ่งบนพื้นเรียบ • เพื่อการเพิ่มความหนักหน่วงในการวิ่ง คุณควรลองวิ่งขึ้นเขาแบบเร็วๆ ซึ่งอาจจะเป็นการวิ่งขึ้นเขาที่ความเร็วสูงสุดเป็นเวลา 30-60 นาที หรือเท่าที่ร่างกายจะรับได้ • การหายใจแบบถูกต้องสามารถช่วยให้วิ่งเร็วและอึดขึ้น เพราะการหายใจลึกๆ จะช่วยให้มีออกซิเจนเข้าไปสู่กระแสเลือดเพิ่มขึ้น ช่วยให้กล้ามเนื้อมีแรงวิ่งต่อไป ควรหายใจทั้งทางปากและจมูก พยายามหายใจให้ลึกเข้าไปที่ท้อง • การหายใจเข้าไปที่ท้อง ทำได้โดยการหายใจเข้าลึกๆ ซึ่งหากทำถูกต้อง ท้องจะพองขึ้นเมื่อหายใจเข้า และยุบลงเมื่อหายใจออก นักวิ่งส่วนใจจะหายใจเข้าไปที่หน้าอก ทำให้หายใจตื้นเกินไป ซึ่งจำกัดออกซิเจนที่เข้าในร่างกาย และไหล่งอ ทำให้สูญเสียพลังงานในการวิ่งไปเปล่าๆ • ขณะวิ่งพยายามหายใจให้ได้ตามจังหวะการลงเท้า ซึ่งช่วยให้กระบังลมแข็งแรงขึ้น ในการเริ่มต้น คุณควรหายใจเข้าหนึ่งครั้งต่อสองก้าว (ซ้ายและขวา) และหายออกหนึ่งครั้งต่อสองก้าว เมื่อกระบังลมแข็งแรงขึ้นและหายใจเข้าได้ลึกขึ้นแล้ว คุณสามารถเพิ่มเป็นหนึ่งการหายใจต่อสี่ก้าวได้