ใส่ใจกับรูปแบบ รองเท้าเดินป่า ด้วยการเลือกซื้อรองเท้าที่ sportlifeonline ตอบโจทย์คุณ คัดสรรมาเป็นอย่างดี
การเดินป่าเพื่อขึ้นไปพิชิตยอดเขาและสัมผัสอากาศเย็นๆถือเป็นสุดยอดทริปที่ทุกคนใฝ่ฝัน แต่ก่อนที่การเดินป่าจะประสบความสำเร็จได้นั้น เราต้องใส่ใจกับการเตรียมตัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของรองเท้าซึ่งสำคัญเป็นลำดับต้นๆเลยทีเดียว ซึ่งเรามีสาระดีๆเกี่ยวกับรูปแบบต่างๆของ
รองเท้าเดินป่า มาฝากทุกท่านครับ
การเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินป่า
• รองเท้า ควรใช้รองเท้าหุ้มข้อ หรือ คอมแบตคุณภาพดี
• กางเกงควรใส่แบบขากว้าง หลวม และมีกระเป๋าข้างเพื่อใช้ใส่ขวดน้ำ
• เสื้อแนะนำให้ใช้เสื้อแขนยาว เพื่อป้องกันแมลงและกิ่งไม้ที่จะมาสัมผัสกับผิวหนัง เลือกเสื้อเชิ้ตมีกระเป๋าจะดี
• เป้เป็นสิ่งจำเป็นเพราะต้องใส่สัมภาระเสื้อผ้าของใช้ เครื่องสำอาง ควรเลือกขนาดกะทัดรัดที่บรรจุของใช้ส่วนตัวได้หมด • หมวกเป็นสิ่งจำเป็นกันแดด
สาระน่ารู้เรื่องประเภทของรองเท้าเดินป่า
Mountaineering Boots
รองเท้าประเภทนี้เหมาะสำหรับนักเดินป่าที่ชอบปีนยอดเขาสูง ยอดเขาที่มีหิมะปกคลุม หรือบริเวณที่อากาศหนาวจัดจนแม่น้ำเป็นน้ำแข็ง (เราคงไม่มีโอกาสได้ใช้รองเท้าประเภทนี้ในเมืองไทยแน่นอน) รองเท้าชนิดนี้จะมีลักษณะค่อนข้างแข็ง สมัยก่อนจะทำจากหนัง และใช้หนังเย็บริมขอบรองเท้า และสำหรับประเภทที่เดินบนหิมะยังมีหนามทำจากเหล็กเอาไว้ยึดกับพื้นผิวอีก ด้วย รองเท้าจะสูงเหนือข้อเท้าและจะมีพื้นรองเท้าที่หนาเป็นพิเศษ ปัจจุบัน ผู้ผลิตรุ่นใหม่ (Koflach, Asolo, Etc.) ได้หันมาใช้พลาสติกหุ้มแทน แต่ถึงแม้ว่ารองเท้ารุ่นใหม่จะสามารถใช้ได้ดีบนหิมะหรือน้ำแข็งที่สูงชัน แต่ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกสบายกับผู้ใส่เลย เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ผลิตชาวยุโรปเช่น La Sportiva ได้หันกลับมาใช้หนังสำหรับการผลิตรองเท้าอีกครั้ง และได้มีการคิดค้นวัสดุชนิดใหม่ที่เรียกว่า Vibers ขึ้นมาแทน โดยรองเท้ารุ่นใหม่นี้จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 – 5 ปอนด์ ส่วนราคาของรองเท้าแบบนี้จะมีราคาสูงมาก
Backpacking or Regular
รองเท้า ประเภท Backpacking นี้เหมาะสำหรับการเดินป่าในสภาพพื้นผิวที่ค่อนข้างจะทรหด ลำบากลำบนหรือทุลักทุเลเอามากๆ และเหมาะสำหรับการเดินแบกของที่ค่อนข้างหนักมากๆ ในเส้นทางที่ใช้เวลาในการเดินหลายๆ วัน รองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่หนาและแข็ง และมักมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะสำหรับการเดินป่าแบบง่ายๆ ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ส่วนมากวัสดุที่ใช้ผลิตรองเท้า Backpacking จะเป็นหนังทั้งหมด หรือเป็นวัสดุสังเคราะห์คุณภาพสูงอย่างกอร์เท็กซ์เท่านั้น เพราะจะช่วยในการเกาะยึดพื้นผิวเป็นอย่างดี และช่วยในการทรงตัวเป็นเยี่ยม นอกจากนี้ รองเท้าประเภทจะมีความสูงเหนือข้อเท้า มีการบุหนังด้านในป้องกันนิ้วเท้า และมีคุณสมบัติในการกันน้ำอย่างดีอีกด้วย จึงสามารถจะใช้เดินลุยในพื้นที่ที่เป็นดินโคลน พื้นที่ชื้นแฉะ หรือในการเดินทางที่จำเป็นจะต้องข้ามหรือลุยน้ำบ่อยๆ และหากซื้ออุปกรณ์ห่อหุ้มเท้ามาเพิ่มเติมจะทำให้สามารถใช้ลุยในพื้นที่เหล่านี้ได้ดีขึ้น แต่หากต้องการจะใช้สำหรับการเดินป่าหรือปีนเขาในพื้นที่ที่หนาวเย็นมากๆ อาจจะต้องใช้รองเท้าที่ผลิตมาสำหรับการลุยหิมะ (Mountaineering Boots) โดยเฉพาะ
Off Trail
รองเท้า Off Trail สามารถใช้ได้กับการเดินป่าในแทบจะทุกพื้นผิว ทุกสภาพอากาศ และทุกภูมิประเทศ แต่เนื่องจากรองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่ค่อนข้างแข็งและหนามากกว่า รองเท้าประเภทอื่น และมีโครงสร้างที่ค่อนข้างจะแข็งแรงและหนักพอสมควร ทำให้ไม่ค่อยเหมาะนักหากจะนำไปใช้เดินป่าในทางเดินง่ายๆ เช่นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ แต่จะเหมาะสำหรับการเดินเข้าป่าในเส้นทางที่ไม่ได้มีการทำทางเอาไว้ให้ หรือในการเดินป่าที่จะต้องมีการแกะรอยหรือหาทางเดินเอง โดยทั่วไปรองเท้า Off Trail จะทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ที่กันน้ำได้อย่างดี เช่น กอร์เท็กซ์ (Gore-Tex) รองเท้าประเภทนี้จะมีการยึดเกาะพื้นผิวที่ดีเยี่ยม และช่วยในการทรงตัวหรือการเดินทางได้เป็นอย่างดี ส่วนมากแล้วมักจะมีความสูงเหนือข้อเท้าขึ้นไป มีการบุหนังเสริมด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันนิ้วเท้า และบางรุ่นอาจจะมีการทำขอบรองเท้าจากวัสดุกันน้ำอีกด้วย ถ้าใช้งานอย่างถูกวิธีจะกันน้ำเข้ารองเท้าได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ (หากมีการเดินลุยน้ำที่ไม่สูงกว่ารองเท้า) และสามารถเดินลุยโคลนหรือลำธารตื้นๆ ได้ดี และในรองเท้าบางรุ่นที่มีการออกแบบและเย็บหุ้มรองเท้าอย่างดีแล้วจะช่วยให้ ความอบอุ่นกับเท้าได้เป็นอย่างดี
On Trail
รองเท้าประเภทนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่ารองเท้า Trail Runner หรือจะเรียกว่าพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นจาก Trail Runner ก็ได้ ซึ่งจะใช้สำหรับการเดินป่าที่ต้องมีการผจญภัยมากขึ้นกว่าการเดินตามเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติอย่างง่าย อาจจะเป็นการเดินแบกเป้ขนาดกลางเข้าไปค้างแรมสักหนึ่งคืน หรือสำหรับการผจญภัยในพื้นที่ที่ต้องมีการปีนป่ายพอสมควรก็ได้ วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าก็มีหลายประเภท เช่น หนัง วัสดุสังเคราะห์ และวัสดุสังเคราะห์กันน้ำเป็นต้น พื้นรองเท้าจะแข็งกว่าแบบ Trail Runner แต่จะมีความยึดเกาะพื้นผิวได้ดีกว่า ส่วนความสูงของรองเท้าก็มักจะอยู่ที่ระดับข้อเท้าหรือสูงกว่าเล็กน้อย และอาจจะมีการบุหนังด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีหรือการเกิดบาดแผล ที่นิ้วเท้าได้อีกด้วย ถึงแม้ว่ารองเท้า On Trail นี้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถกันน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่ก็สามารถการเปียกชื้นภายในจากโคลนหรือจากการเดินข้ามลำธารตื้นๆได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้รองเท้า On Trail ยังให้ความอบอุ่นกับเท้าได้ในระดับหนึ่ง